การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการความเครียดของคนไทย

ผู้แต่ง

  • พรเพ็ญ อารีกิจ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

ความเครียด, การจัดการความเครียด

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์วิจัยความเครียดและการจัดการความเครียด หาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดและวิธีจัดการความเครียดของคนไทย กลุ่มตัวอย่างคือวิจัยการจัดการความเครียดจำนวน 50 เรื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 ถึง พ.ศ.2560 โดยการสังเคราะห์วิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและสังเคราะห์วิจัยเชิงปริมาณด้วยการวิเคราะห์เมต้า ซึ่งค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเพื่อวัดความเครียด พบว่าส่วนใหญ่มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของครอนบาคของแบบสอบถามอยู่ในระดับสูง คือค่า α อยู่ระหว่าง 0.9020-0.9500 คิดเป็นร้อยละของจำนวนงานวิจัยทั้งหมดเท่ากับ 18.00 โดยในเชิงปริมาณเสนอผลเป็นค่าอิทธิพล (d) สังเคราะห์ตัวแปร 4 ปัจจัยพบผลวิจัยที่มีผู้ศึกษามากที่สุดดังนี้ 1) ปัจจัยความเครียดของคนไทย ตัวแปรกลุ่มปัจจัยชีวสังคมและส่วนบุคคลคืออายุ ตัวแปรกลุ่มปัจจัยจิตลักษณะคือบุคลิกภาพ ตัวแปรกลุ่มปัจจัยสังคมคือสัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน และตัวแปรกลุ่มโปรแกรมจัดกระทำคือฝึกคลายเครียด 2) ปัจจัยการเผชิญความเครียดของคนไทย ตัวแปรกลุ่มปัจจัยชีวสังคมและส่วนบุคคลคือเพศ ตัวแปรกลุ่มปัจจัยจิตลักษณะคือภาวะสุขภาพ ตัวแปรกลุ่มปัจจัยสังคมคือการสนับสนุนจากที่ทำงาน และตัวแปรกลุ่มโปรแกรมจัดกระทำแตกต่างกันแต่ละเรื่อง 3) ค่าอิทธิพลสูงสุดของปัจจัยความเครียดของคนไทย ตัวแปรกลุ่มปัจจัยชีวสังคมและส่วนบุคคลคือความบกพร่องและความพิการทางกาย 1.06 ตัวแปรกลุ่มปัจจัยจิตลักษณะคือความกังวลใจ 1.64 ตัวแปรกลุ่มปัจจัยสังคมคือการปฏิรูปทางการศึกษาค่าอิทธิพล 0.97 และตัวแปรกลุ่มโปรแกรมจัดกระทำคือการฝึกการควบคุมตนค่าอิทธิพล 1.48 และ 4) ค่าอิทธิพลสูงสุดของปัจจัยที่มีต่อการเผชิญความเครียดของคนไทย ตัวแปรกลุ่มปัจจัยชีวสังคมและส่วนบุคคลคือสถานที่ตั้งของที่พักอาศัยค่าอิทธิพล 0.36 ตัวแปรกลุ่มปัจจัยจิตลักษณะคือความคาดหวังค่าอิทธิพล 1.82 ตัวแปรกลุ่มปัจจัยสังคมคือการสนับสนุนจากที่ทำงานค่าอิทธิพล 0.71 และตัวแปรกลุ่มโปรแกรมจัดกระทำคือการให้ข้อมูลประกอบภาพการ์ตูนค่าอิทธิพล 2.50

References

ประกายทิพย์ ศิริวงศ์. (2552). การศึกษาความเครียดและการเผชิญความเครียดของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมก่อนผ่าตัด. วารสารพยาบาลศิริราช, 3(1), 25-40.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2558). โครงการจับตาสถานการณ์ความสุขคนทำงานในประเทศไทย 2555-2557, ฐานข้อมูลโครงการจับตาสถานการณ์ความสุขในการทำงานในประเทศไทย 2555-2557. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุทธานันท์ กัลกะ. (2557). การสำรวจงานวิจัยที่เกี่ยวกับการพยาบาลภาวะซึมเศร้าในประเทศไทย. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 20(3), 36-52.

อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2551). การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับความเครียดและการเผชิญความเครียดของคนไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Baruch, G.K. & Barnett, R. (1996). Role quality, multiple role involvement, and psychological wellbeing in midlife women. Journal of Personality and Social Psychology, 51(3), 578-585.

Bird, Gloria W., & Melville, K. (1994). Families and Intimate Relationships. United States of America : McGraw-Hill, Inc.

Brooks, R.B. (1992). Self esteem during the school years. Rediatric Clinics of North America, 39(3), 544-548.

Glass, McGaw. & Smith. (1981). Group dynamics: research and theory. (3rd ed.). United States of America : Harper and Rou Publishers.

Henry. (2005). Impact of work-family interference on general well-being : A replication and extension. International Journal of Stress Management, 12(3), 203-221.

Lazarus., & Folkman. (1984). Stress theory. Retieved from http://www.221bigbend.org/.

Selye. (1976). Selye Stress theory. Retieved from http://www.stress theory.org/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-07