การบริหารตามพันธกิจอุดมศึกษากับความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา เครือข่ายสหวิทยาการ ภาคกลาง สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ผู้แต่ง

  • โกสุม สายใจ รองศาสตราจารย์ ประจำหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

คำสำคัญ:

พันธกิจอุดมศึกษา, ความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา, ความสัมพันธ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารตามพันธกิจอุดมศึกษาความเป็นสถาบันอุดมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ และความสัมพันธ์ระหว่างสภาพการบริหารกับความเป็นสถาบันอุดมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ของสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายสหวิทยาการ ภาคกลางสำนักงานราชบัณฑิตยสภา กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์ และบุคลากรสนับสนุน จำนวน 345 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่าสภาพการบริหารตามพันธกิจอุดมศึกษาในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่มีความเป็นสถาบันอุดมศึกษาสู่ความเป็นเลิศในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยการบริหารตามพันธกิจอุดมศึกษามีความสัมพันธ์แบบไปในทางเดียวกันกับความเป็นสถาบันอุดมศึกษาสู่ความเป็นเลิศในระดับปานกลาง ถึง สูงมาก (r=.469 - .897) สอดคล้องกับสมมติฐานที่กำหนดไว้

          ผลการวิจัยครั้งนี้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารสถาบันอุดมศึกษาในปัจจุบัน โดยเป็นข้อมูลสำคัญที่จะเป็นแนวทางในการพัฒนาการบริหารสถาบันไปสู่ความเป็นเลิศตามบริบทไทยแลนด์ 4.0 และความก้าวหน้าทางดิจิตอลเทคโนโลยี

References

กฤษิยากร เตชะปิยะพร. (2552). คุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2560, จาก http://hq.prd.go.th/plan/ewt_dl_link.php?nid.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2550). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : เฮ้าส์ออฟเคอร์มีสท์.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2557). มหาวิทยาลัยรับใช้สังคม. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2559,จาก http://www.komchadluek.net/news/lifestyle/201345.

ยาเบ็น เรืองจรูญศรี. (2553). การศึกษาภาวะผู้นำตามแนวตาข่ายการจัดการ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2559,จาก http://www.kroobannok.com/blog.

วาสนา สีลุน. (2551). ปัญหาและข้อเสนอแนะในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 2. วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิกิฟีเดีย สารานุกรมเสรี. (2014). มหาวิทยาลัยรับใช้สังคม. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2559,จาก http://th.wikipedia.org/wiki.

ศรุดา สมพอง และนายวัชรินทร์ อินทพรหม. (2548). ทัศนคติมุ่งสู่ความเป็นเลิศ. ทุนมูลนิธิพันเอกจินดา ณ สงขลา สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล สำนักงานข้าราชการพลเรือน.

สถาพร สังขาวสุทธิรักษ์. (2550). การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุคต์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. [ออนไลน์] . สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2559, จาก graduate.sru.ac.th/.สิบอันดับมหาวิทยาลัยชื่อดังของโลก.[ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2559, จาก http://forum.mthai.com/view.

สุภัชฌาน์ ศรีเอี่ยม. (2005). กลยุทธ์การสอนระดับอุดมศึกษาตามกรอบ TQF. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ11 มิถุนายน 2559,https://www.tci-thaijo.org/index.php.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). การวิจัยประเมินผลคุณภาพของคนไทย: ดี เก่ง และมีความสุข.กรุงเทพฯ: สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (2554). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ระดับอุดมศึกษา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2559, จาก http://www.human.nu.ac.th.

Daggett, R. (2005). Preparing students their future. Rexford, NY: International Center for Leadership in Education.

McKeown, Max (2008). The Truth About Innovation. London, UK: Prentice Hall.

Roscoe, J.T. (1975). Fundamental Research Statistics for the Behavioral Sciences,2nd edition. New York: Holt Rinehart & Winston.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-31