ตัวกำหนดการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่มีต่อผลการดำเนินงานการบริหารด้านการเงินของบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ธีระ เทิดพุทธธรรม นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการภาครัฐและเอกชน มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

การกำกับดูแลกิจการที่ดี, ผลการดำเนินงานการบริหารด้านการเงิน, บริษัทจดทะเบียน

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ตัวกำหนดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่มีต่อผลการดำเนินงานการบริหารด้านการเงินของบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย และวิเคราะห์ความสามารถในการทำนาย กลุ่มตัวอย่าง คือ บริษัทจดทะเบียน จำนวน 221 แห่ง โดยใช้ประธานเจ้าหน้าที่การเงินหรือผู้บริหารในสายงานการเงินหรือการบัญชีเป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลผลการบริหารด้านการเงิน และแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นมาตามแนวปฏิบัติที่ดีตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน พ.ศ. 2555 วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

       ข้อค้นพบของการวิจัยสามารถแสดงได้ดังนี้ (1) องค์ประกอบของการกํากับดูแลกิจการที่ดี ประกอบไปด้วย 8 องค์ประกอบ สามารถอธิบายความผันแปรของตัวแปรทั้งหมดได้ร้อยละ 63.57 (2) องค์ประกอบด้านระบบการรายงานและการควบคุมทางการบริหารเป็นตัวแปรเพียงหนึ่งเดียวที่สามารถทำนายอัตราผลตอบแทนจากกำไรสุทธิ (NPM) ปี 2559 ได้ (R2 = .040) ข้อค้นพบจาการวิจัยบ่งชี้ว่า บริษัทจดทะเบียนควรให้ความสำคัญต่อทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกในการบริหารงานให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยเฉพาะบทบาทของคณะกรรมการบริษัท (Board of Directors) ด้วยการสรรหาและคัดเลือกกรรมการบริษัทที่เป็นผู้ที่มีความรู้ด้านการเงิน การบริหารความเสี่ยง เป็นผู้ที่ยึดมั่นในจรรยาบรรณในการบริหารองค์กรเชิงธุรกิจ.และมีความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติหน้าที่ (Accountability)

References

เดือนเพ็ญ จันทร์ศิริศรี. (2552).ใน อัญญา ขันธวิทย์, ศิลปพร ศรีจั่นเพชร และ เดือนเพ็ญ จันทร์ศิริศรี (คณะบรรณาธิการ), การกำกับดูแลเพื่อสร้างมูลค่ากิจการ. (น.171–228). กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2551). รู้จักกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

เพชรี ขุมทรัพย์. (2555). วิเคราะห์งบการเงิน หลักและการประยุกต์. พิมพ์ครั้งที่ 12 (ฉบับปรับปรุง).กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2552). เปิดมุมมองบรรษัทภิบาลไทย. วารสารบริหารธุรกิจ, 32(124), 1–4.

สุภาวดี ขุนทองจันทร์. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะบรรษัทภิบาลกับศักยภาพในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการ ม. อบ., 10(2), 112–127.

Boadi, E. K., Antwi, S. & Lartey, V. C. (2013). Determinants of profitability of insurance firms in Ghana. International Journal of Business and Research, 3(3), 43–50.

Burak, E., Erdil, O. & Altindag, E. (2017). Effect of corporate governance principles on business performance. Australian Journal of Business and Management Research, 5(7), 8–21.

Das, C. P. & Swain, R. K. (2017). Impact of organizational factors on financial performance. KIIT Journal of Management, (December), 145–153.

Donaldson, T. (1995). The stakeholder theory of the corporation: Concepts, evidence, and implications. Academy of Management Review, 20(1), 6 –91.

Donaldson, L. & Davis, J. H. (1991). Stewardship theory or agency theory: CEO governance and shareholder returns. Australian Journal of Management, (16), 49–64.

Furguson, C. J. (2009). An effect size primer: a guide for clinicians and research. Professional Psychology: Research and Practice, 40(5), 532 – 538.

Hair Jr., J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E. and Tatham, R. L. (2006). Multivariate Data Analysis. 6th ed. New Jersey: Pearson Education International.

Haryono, U. & Paminto, A. (2015). Corporate governance and firm value: the mediating effect of financial performance and firm risk. European Journal of Business and Management, 7(35), 18-24.

Heikal, M., Khaddafi, M. & Ummah, A. (2014). Influence analysis of return on assets, return on equity, net profit margin, debt to equity ratio, and current ratio, against corporate profit growth in automotive in Indonesia stock. International Journal of Academic Research in Business and Social Science, 4(12), 101–114.

Jensen, M. C. & Meckling, W.H. (1976). Theory of the firm: managerial behavior, agency costs and ownership structure. Journal of Financial Economics, 3 (1976) 305–360.

Parkitna, A., & Sadowska, B. (2011). Factors determining the profitability of enterprises-influence assessment. Operations Research and Decisions, (2), 4 –58.

Wheelen, T. L. & Hunger, J. D. (2010). Concepts in Strategic Management & Business Policy: Achieving Sustainability. 12th ed. New Jersey: Pearson Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-07