ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน ของสตรีกลุ่มเสี่ยงในอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • วลัยภรณ์ อารีรักษ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี

คำสำคัญ:

การรับรู้ความสามารถตนเอง, ความคาดหวังผลดี, สตรีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน, พฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวาน, ดัชนีมวลกาย, เส้นรอบเอว

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดซ้ำเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานของสตรีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงอายุ 35-67 ปีที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน อาศัยอยู่ในตำบลวัดสุวรรณ อำเภอบ่อทองจังหวัดชลบุรี จำนวน 40 คน ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด ได้รับโปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถตนเอง แบบสอบถามความคาดหวังผลดี แบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวาน เครื่องชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง และสายวัดรอบเอว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ

          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังผลดี และพฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวานระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอวระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ควรจัดกิจกรรมการสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง และควรประยุกต์ใช้ในกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่ออื่นๆ

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2560). การคัดกรองเบาหวานในประชากรไทย จำแนกกลุ่มอายุ. สืบค้นจาก https:// ncdservice.moph.go.th.

เกษฎาภรณ์ นาขะมิน. (2556). กลวิธีการป้องกันโรคเบาหวาน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารสมาคมพยาบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 31(1),43-51.

ขนิษฐา พิษฉลาด, ฉันทนา แรงสิงห์ และเกศมณี มูลปานันท์. (2559). การพัฒนารูปแบบการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สำหรับกลุ่มเสี่ยงเบาหวานในชุมชน จังหวัดเชียงราย. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 28(3), 132-146.

จรูญศักดิ์ พันธวิศิษฏ์. (2561). การพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการเต้นบาสโลปและการเต้นไลน์แดนซ์ที่มีต่อความดันโลหิต ความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและหายใจและการทรงตัวของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุเทศบาลเมืองหนองคาย.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 41(1), 101-117.

ดารณี ทองสัมฤทธิ์, เยาวลักษณ์ มีบุญมาก และกนกวรรณ บริสุทธิ์. (2560). ผลของการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อความสามารถในการดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานใน ตำบลวัดเพลง อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 28(1), 26-37.

ประดิษฐ์ ไชยสังข์. (2554). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและแรงสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานอำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ประเสริฐ อัตสันตชัย. (2554). ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการป้องกัน. กรุงเทพฯ: บริษัทยูเนี่ยนครีเอชั่นจำกัด.

เพชรัตน์ ศิริสุวรรณ. (2561). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานรายใหม่ ตำบลสิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุรินทร์, 8(1), 45-58.

พรทิพย์ สมตัว, ปาหนัน พิชยภิญโญ, วีณา เที่ยงธรรม และดุสิต สุจิรารัตน์. (2559). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 30(1), 1-12.

ยุภาพร นาคกลึ้ง และปราณี ทัดศรี. (2560). ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 6(1), 27-35.

รัตนา เกียรติเผ่า. (2558). ผลของการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อการลดความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานของประชากรกลุ่มเสี่ยง ตำบลทัพทัน อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 24(3), 405-412.

วิลาวัลย์ กันหาชน. (2557). ผลระยะสั้นของการเต้นบาสโลบในอาสาสมัครสุขภาพดีต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว การทรงตัวและความยืดหยุ่นของร่างกาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

วรรัตน์ สุขคุ้ม และจิราพร เกศพิชญวัฒนา. (2552). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการควบคุมน้ำหนักต่อพฤติกรรมการบริโภค ขนาดของรอบเอว และค่าดัชนีมวลกายของผู้สูงอายุที่มีภาวะอ้วน. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 18(2), 212-221.

สุธีตา สิงโตทอง, และคณะ. (2558). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบบาสโลบ บก-น้ำ ของประชาชนที่พักอาศัยในคอนโดมิเนียมลุมพินี รามอินทรา หลักสี่ กรุงเทพมหานคร. วารสารมูลนิธิพยาบาลสาธารณสุข กรุงเทพ, 1(1), 21-31.

สุขฤทัย วิโรจน์ยุติ, มณฑา เก่งการพานิช, ธราดล เก่งการพานิช และสุปรียา ตันสกุล. (2557). ประสิทธิผลของโปรแกรมฟื้นฟูสภาพหลังผ่าตัดกระดูกสะโพกหักของผู้ป่วยสูงอายุ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(2), 187-194.

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. (2560). รายงานภาวะโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2557. นนทบุรี: เดอะกราฟิโก ซิสเต็มส์.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี. (2561). รายงานอัตราผู้ป่วยรายใหม่ของโรคเบาหวาน. สืบค้นจาก https://cbo.moph.go.th/cbo/

อรุณี ผุยปุ้ย. (2556). การพัฒนาแนวทางการดูแลกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดพิจิตร. วารสารสมาคมพยาบาลสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 31(4), 80-88.

Albright, A.L. & Gregg, E.W. (2013). Preventing type 2 diabetes in communities across the U.S:The national diabetes prevention program. Am J Prev Med, 44(4suppl4), S346-351. doi: 10.1016/j.amepre.2012.12.009.

American Diabetes Association. (2018). Blood glucose control and exercise. Retrieved from https://www.diabetes.org/food-and-fitness/get-started

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. NewYork: W.H.freeman and Company.

Cohen, J. (1992). A power primer. Psychological Bulletin, 112(1), 155-159.

Colberg, S.R., Sigal, R.J., Yardley, J.E., Riddell, M.C., Dunstan, D.W., Dempsey, P.C., Horton, E.S., Castorino, K., & Tate, D.F. (2016). Physical activity/ exercise and diabetes: A position statement of the american diabetes association. Diabetes Care, 39(11), 2065-2079. doi: 10.2337/dc16-1728.

Fock, K.M., & Khoo, J. (2013). Diet and exercise in management of obesity and overweight. Journal of Gastroenterology and Hepatology, 28(4), 59-63.

Saenyacharoenkul, W., Krainuwat, K., & Nakagasien, P. (2019). Effect of a dietary modification program on food consumption bebavior for people with prediabetes. Nursing Science journal of Thailand, 37(1), 59-72.

Wangpitipanit, S., Terathongkum, S., & Pakpayak, M. (2017) Effect of a RANS 30 exercise program on diabetic preventivebehavior, body mass index, and capillary blood glucose in person with pre-diabetes. Rama Nurs J, 23(3).358-370.

World Health Organization. (2016). Global report on diabetes. Retrieved from https://www.who. int/diabetes/publications/grd-2016/en/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-16