การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในระดับอุดมศึกษา

ผู้แต่ง

  • นุจรี บุรีรัตน์ นักศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

การเรียนการสอนแบบผสมผสาน, ความคิดสร้างสรรค์ตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์, อุดมศึกษา

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน  เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในระดับอุดมศึกษา 2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในระดับอุดมศึกษา โดยนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาเทคโนโลยีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา คอมพิวเตอร์กราฟิกและมัลติมีเดีย เพื่องานโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 54 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้ (1) ส่วนการนำเข้าข้อมูล ประกอบด้วย การวิเคราะห์รายวิชา วิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ผู้เรียนให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในระดับอุดมศึกษา (2) ส่วนการประมวลผล ขั้นตอนกระบวนการเรียนการสอนด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในระดับอุดมศึกษา ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุป ขั้นประเมินผล (3) ส่วนการแสดงผลลัพธ์ ประกอบด้วย ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อและการนำเสนอ อยู่ในระดับดีมาก ผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา อยู่ในระดับดีมาก และผลการประเมินด้านประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในระดับอุดมศึกษา อยู่ในระดับดีมาก 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาก่อนและหลังเรียน พบว่าค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในระดับอุดมศึกษาปรากฏว่า ความพึงพอใจของผู้เรียน อยู่ในระดับมาก

References

กมัยธร เหล่าพร. (2555). การเปรียบเทียบทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2549). การคิดเชิงสร้างสรรค์ Creative Thinking. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย.

ขจรพงษ์ ร่วมแก้ว. (2554). ผลของสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่องการพัฒนาการจัดสารสนเทศสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย ขอนแก่น, ขอนแก่น.

ฉัตรนภา พรหมมา. (2558). รายงานผลการวิจัยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของเครือข่ายสถานศึกษาเพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นที่ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยความร่วมมือของชุมชนและองค์กรท้องถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์: สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ชลิต กังวาราวุฒิ. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบศิลปภิวัฒน์ผ่านคลาวด์เทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมผลงานสร้างสรรค์ตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพมหานคร.

ชุลีพร ปิ่นธนสุวรรณ. (2557). ผลการเรียนแบบอีเลิร์นนิงด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะเพื่อการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิชาชีพครู. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(2), 238-250.

สมใจ สืบเสาะ. (2555). การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบสร้างสรรค์เชิงหรรษาบนเว็บ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ, กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561).สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564, สืบค้นจาก https://ce.nesdb.go.th/

อรรคนนท์ ดวงสุวรรณ. (2548). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิก และการวาดภาพของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

อินทิรา พรมพันธ์. (2550). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บโดยใช้กระบวนการเรียนรู้เบรนเบสด์ ในวิชาการออกแบบ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนิสิตนักศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิต. (วิทยานิพนธ์ดุษฏีบัณฑิต) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

Egan, A. Maguire, R. Christophers, L. & Rooney, B. (2017). Developing creativity in higher education for 21st century learners: A protocol for a scoping review. International Journal of Educational Research, (82), 21-27.

Ruth B., Michiel V. & Bram D.W. (2018). The design of blended learning in response to student diversity in higher education: Instructor’s views and use of differentiated instruction in blended learning. Computer & Education, 120, 197-212.

Thinking Skills & Creativity. (2016). Thinking skills and creativity in second language education: Where are we now?. Thinking Skills and Creativity, (22), 267-272.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-14