การพัฒนาแอปพลิเคชันเทคโนโลยีผสานความจริงโลกเสมือนเพื่อการศึกษาลายสือไทย

ผู้แต่ง

  • ฟาริดา วิรุฬหผล คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ลายสือไทย, เทคโนโลยีผสานความจริงโลกเสมือน, แอปพลิเคชัน

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันเทคโนโลยีผสานความจริงโลกเสมือน (Augmented Reality) เพื่อศึกษาอักษรลายสือไทยให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น การประเมินคุณภาพของสื่อนั้นใช้แบบสอบถามและคะแนนการทดสอบความถูกต้องในการจับคู่ตัวอักษรลายสือไทยกับตัวอักษรไทย ขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยนั้นเริ่มจากการพัฒนาแอปพลิเคชันต้นแบบด้วยโปรแกรม Unity และ Vuforia แล้วจึงออกแบบสอบถามซึ่งได้ให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คนตรวจสอบดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ได้ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ 0.67-1.00 แล้วจึงทำการสุ่มประชากรตัวอย่างแบบง่าย ได้กลุ่มผู้ร่วมวิจัยจำนวน 20 คน อายุระหว่าง 18-25 ปี แบ่งกลุ่มแรกใช้วิธีการฝึกคัดลายมือแบบปกติในการเรียน ส่วนกลุ่มที่ 2 ใช้การคัดลายมือและแอปพลิเคชันเสริมการเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่าแบบสอบถามมีค่าเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ดีถึงดีมาก โดยด้านระบบการนำทางที่ดีอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.01, S.d.=0.42 ) ด้านการสื่อสารที่ดีอยู่ในเกณฑ์มาก (gif.latex?\bar{x}=4.13, S.d.=0.39 ) ด้านความคล่องตัวและควบคุมง่ายอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด ( gif.latex?\bar{x}=4.36, S.d.=0.37) ด้านมีเสถียรภาพและมาตรฐานอยู่ในเกณฑ์มาก ( gif.latex?\bar{x}=4.17, S.d.=0.40) ด้านความสามารถจดจำรูปแบบได้ง่ายอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.31, S.d.=0.38 )  ด้านความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพในการใช้งานอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.22, S.d.=0.42 ) และด้านความสวยงามอยู่ในเกณฑ์มาก ( gif.latex?\bar{x}=4.05, S.d.=0.47) ส่วนการเปรียบเทียบคะแนนการจับคู่ตัวอักษรนั้นซึ่งใช้การวิเคราะห์แบบ Independent – Sample t – test พบว่าระดับนัยสำคัญของคะแนนสองกลุ่มมีความสำคัญ (t=-2.506, p<0.05) ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ประโยชน์คือนำแอปพลิเคชัน ที่ได้ไปใช้ในการเรียนการสอนลายสือไทยต่อไป

References

ประจักษ์ วัฒนานุสิทธิ์. (2554). แผนงานมรดกความทรงจำแห่งโลกของยูเนสโกกับประเทศไทย. วารสารห้องสมุด, 55(1), 17-27.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับย่อ). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Berglund, E. (2017). The Vuforia SDK and Unity3D Game Engine. Linköping University, Linköping, Sweden.

Blender. (2019). Blender 2.8 Reference Manual. Amsterdam, the Netherlands: Blender.

Cooper, A., & Reimann, R. (2007). About Face 3.0: The Essentials of Interaction Design. IN, US: John Plublishing.

Goldstone, W. (2009). Unity Game Development Essentials. Birmingham, UK: Packt Publishing Ltd.

Greene, J., & D'Oliveira, M. (2005). Learning to Use Statistical Tests in Psychology: A Student's Guide: Open University Press.

Lidwell, W., Holden, K., & Butler, J. (2010). Universal Principles of Design. MA, USA: Rockport Publishers.

Linowes, J., & Babilinski, K. (2017). Augmented Reality for Developers. Birmingham, UK: Packt Publishing Ltd.

Tsai, C.-H., & Yen, J.-C. (2014). The Augmented Reality Application of Multimedia Technology in Aquatic Organisms Instruction. Journal of Software Engineering and Applications, 7, 745-755.

Vuforia. (2018). Optimizing Target Detection and Tracking Stability. Retrieved from https://library. vuforia.com/articles/Solution/Optimizing-Target-Detection-and-Tracking-Stability.html

Zhao, Z. C., Zhou, Y., Tan, G., & Li, J. (2018). Research progress about the effect and prevention of blue light on eyes. International journal of ophthalmology, 11(12), 1999–2003.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-10-07