กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน โดยใช้กระบวนการคิดเป็น

ผู้แต่ง

  • ศศิธร ไชยชนะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

กิจกรรมการเรียนรู้, ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง, กระบวนการคิดเป็น, นักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน โดยใช้กระบวนการคิดเป็น  สร้างโดยใช้แนวคิดขั้นตอนการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองและใช้กระบวนการคิดเป็น เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้  ได้รับการตรวจคุณภาพของกิจกรรมจากผู้เชี่ยวชาญ ว่ามีเนื้อหา วิธีการจัดการเรียนรู้ วิธีวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ ตรงตามวัตถุประสงค์ (2) ศึกษาผลการใช้กิจกรรม ใช้แบบแผนการทดลอง แบบกลุ่มเดียวและวัดผลหลังการทดลอง  กับนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองเชียงใหม่ จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน โดยใช้กระบวนการคิดเป็น  ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ 5 แผน คือ (1) การวิเคราะห์ความต้องการในการเรียนรู้และการกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ (2) การวางแผนการเรียนรู้ (3) การแสวงหาแหล่งวิทยาการ (4) การปฏิบัติ (5) การประเมินผลการเรียนรู้และสะท้อนผลการเรียนรู้ ทั้ง 5 แผนใช้กระบวนการคิดเป็น เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ 2) ผลจากการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ นักศึกษามีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง โดยนักศึกษาทุกคนผ่านการประเมินร้อยละ 70 ขึ้นไป มีความมั่นใจในการปฏิบัติตามขั้นตอนการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองในระดับมากที่สุด จำนวน 17 คน ระดับมาก จำนวน 13 คน และมีความพึงพอใจในกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับมาก  ผลจากการเรียนรู้จึงเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาที่จะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาตนเองเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตต่อไป

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: มปท.

บุญศิริ อนันตเศรษฐ. (2544). การพัฒนากระบวนการการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียนในระดับมหาวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

เพ็ญศรี สุขสวัสดิ์. (2543). ความพร้อมในการเรียนรู้โดยการชี้นำตนเองและแบบภาวะผู้นำของศึกษาธิการจังหวัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

วิกร ตัณฑวุฒโฒ และ วรัทยา ธรรมกิตติภพ. (2554). การวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยรายวิชา 26708: หน่วยที่ 10 การวิจัยเชิงทดลองในการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมบัติ สุวรรณพิทักษ์. (2541). เทคนิคการสอนแนวใหม่. กรุงเทพฯ : กรมศึกษานอกโรงเรียน

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2550). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 10) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวัฒน์ วัฒนวงศ์. (2546). การเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของผู้เรียนการศึกษาต่อเนื่องสายอาชีพ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2552). แนวทางการจัดการเรียนรู้ หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย .

อารักษ์ อินทร์พยุง. (2554). การพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการศึกษานอกระบบเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

Bandura, Albert. (1997). Self-efficac : The exercise of control. New York : W.H. Freeman. and company.

Brockett, R. G. and R. Hiemstra. (1991). Self-direction in Adult Learning: Perspectives on theory, research and practice. London : Routledge.

Costa , A. L. and Kallick , Bena. (2004). Assessment Strategies for Self-directed Learning. California: Corwin Press A Sage Publications.

Knowles, M.S. (1975). Self- Directed Learning: A Guide for Learner and Teacher. New York: Association Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-10-07