Publication Ethics

          วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและบทความวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพรวมทั้งสหสาขาวิชา ด้านการบริหารจัดการ การบัญชี และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ แนวคิดและประสบการณ์ทางวิชาชีพของอาจารย์ นักศึกษาและนักวิชาการ ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน และจะรักษามาตรฐานทางจริยธรรมในการจัดทำวารสารอย่างเคร่งครัด ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามหลักมาตรฐานทางจริยธรรมในการตีพิมพ์ของวารสาร

หน้าที่ของผู้เขียน
          1. บทความที่ผู้เขียนส่งมาให้บรรณาธิการต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และขอบเขต หากไม่สอดคล้องตามวารสารกำหนดจะถูกปฏิเสธการรับบทความ
          2. ผู้เขียนต้องรับรองว่าบทความที่ส่งมารูปแบบมีความถูกต้องตามที่วารสารกำหนด และเป็นผลงานของผู้เขียนและผู้เขียนร่วมที่มีชื่อปรากฏตามที่ระบุไว้จริง
          3. ผู้เขียนต้องรับรองว่าบทความที่ส่งตีพิมพ์เป็นผลงานใหม่ และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ในกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ของวารสารอื่นใด
          4. ผู้เขียนต้องรายงานข้อเท็จจริงของผลงานที่ได้รับการศึกษาวิจัยโดยไม่ให้ข้อมูลผลการศึกษาที่เป็นเท็จและต้องไม่บิดเบือนข้อมูลเพื่อผลประโยชน์อื่นใด
          5. ผู้เขียนต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น หากมีการนำข้อความมาใช้ในผลงานของตนเองต้องคำนึงถึงหลักจริยธรรมคือต้องจัดทำเอกสารอ้างอิงไว้ท้ายบทความของตนเองทุกครั้ง
          6. หากบทความตีพิมพ์เผยแพร่ไปแล้วและวารสารตรวจพบว่า มีการละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่น (Plagiarism) ถือเป็นการละเมิดจรรยาบรรณทางวิชาการอย่างร้ายแรง และวารสารจะดำเนินการถอดถอนบทความโดยทำสัญลักษณ์ “Retracted” คาดทับในบทความที่ถอดถอน
          7. หากวารสารตรวจพบว่า บทความที่ส่งมาตีพิมพ์ซึ่งผู้เขียนเคยมีการละเมิดจริยธรรมและละเมิดข้อกำหนดของวารสาร ทางวารสารมีสิทธิในการยกเลิกและปฏิเสธบทความของผู้เขียนได้ในทุกกรณี รวมถึงวารสารตัดสิทธิ์รับพิจารณาบทความผู้เขียนเป็นระยะเวลา 5 ปี
          8. หากเป็นบทความวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย ผู้เขียนต้องระบุแหล่งทุนสนับสนุนการทำวิจัยไว้ในบทความด้วยและต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน
          9. บทความที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์หรือสัตว์ทดลอง ผู้เขียนต้องมีหลักฐานยืนยันว่า บทความดังกล่าวได้ผ่านการรับรองจริยธรรมจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์ทดลองแล้วโดยเขียนอธิบายใน “หัวข้อการพิทักษ์สิทธิ์ผู้ให้ข้อมูล” ให้ชัดเจน
          10. ผู้เขียนต้องรับรองความถูกต้องของเนื้อหาและรับผิดชอบความคิดเห็นหรือข้อสรุปในบทความที่ได้รับการตีพิมพ์
          11. ผู้เขียนต้องปรับแก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะของผู้ประเมินบทความอย่างละเอียด เพื่อคุณภาพบทความและมาตรฐานทางวิชาการ หากไม่ปรับแก้ไขอาจถูกปฏิเสธการเผยแพร่ กรณีไม่แก้ไขในประเด็นที่เสนอแนะผู้เขียนสามารถชี้แจงและให้เหตุผลมายังวารสารรับทราบได้
          12. ผู้เขียนต้องตรวจสอบรายการอ้างอิงในเนื้อหาและเอกสารอ้างอิงให้ถูกต้องตรงกัน ไม่ควรนำรายการเอกสารอ้างอิงที่ไม่ปรากฏในบทความมาใส่ในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ และควรอ้างอิงจากแหล่งเว็บไซต์เท่าที่จำเป็นไม่มากเกินไป

หน้าที่และความรับผิดชอบของบรรณาธิการ
          1. พิจารณาและกลั่นกรองคุณภาพบทความ ที่เสนอมาตีพิมพ์ในวารสารด้วยเหตุผลตามหลักวิชาการในการตัดสินใจต่อการยอมรับหรือปฏิเสธบทความไว้เพื่อพิจารณา โดยพิจารณาความเกี่ยวข้องเนื้อหาบทความที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร
          2. ให้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการปรับแก้ไขบทความแก่ผู้เขียนก่อนส่งให้ผู้ประเมินบทความ หากเป็นบทความวิชาการพิจารณาให้แก้ไขชื่อเรื่องได้ขึ้นอยู่กับเนื้อหาบทความ หากเป็นบทความวิจัยไม่แก้ไขหรือเปลี่ยนชื่อบทความวิจัย โดยจะพิจารณาเฉพาะความถูกต้องตามหลักวิชาการ ได้แก่ ความสำคัญปัญหาของการวิจัย ระเบียบวิธีการวิจัย กรอบแนวคิดการวิจัย การทบทวนวรรณกรรม การอภิปรายผลการวิจัยและการอ้างอิง เพื่อให้บทความมีความถูกต้องสมบูรณ์มากขึ้น
          3. พิจารณาเลือกผู้ประเมินบทความให้ตรงตามสาขาของบทความจากหลากหลายสถาบันอย่างเป็นธรรม
          4. พิจารณาตรวจสอบการแก้ไขบทความร่วมกับกองบรรณาธิการ และให้ผู้เขียนแก้ไขให้ถูกต้องตรงตามคำแนะนำของผู้ประเมินก่อนออกหนังสือรับรองเผยแพร่
          5. พิจารณาและตรวจสอบผลประเมินคุณภาพบทความของผู้ประเมินบทความ กรณีมีความเห็นต่างกัน และผู้เขียนไม่ได้แก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะของผู้ประเมินบทความ
          6. แจ้งผลการประเมินคุณภาพบทความที่ผู้ประเมินบทความปฏิเสธการตีพิมพ์ให้ผู้เขียนรับทราบ
          7. บรรณาธิการต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียนหรือผู้ประเมินบทความ และไม่นำวารสารหรือบทความไปใช้ประโยชน์ในเชิงธุรกิจหรือนำไปเป็นผลงานทางวิชาการของตนเอง
          8. ต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนและผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินบทความแก่บุคคลอื่น ๆ ในทุกกรณี
          9. รักษามาตรฐานของวารสารโดยเผยแพร่ตรงเวลา รวมถึงพัฒนาวารสารให้มีคุณภาพและมีความทันสมัยอยู่เสมอ
          10. จัดระบบการตรวจสอบการคัดลอกผลงาน (Plagiarism) ในบทความอย่างจริงจัง โดยใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้และเป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาการ ซึ่งวารสารใช้โปรแกรม Copy Catch ของระบบ ThaiJO หรือโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ โดยกำหนดความซ้ำของผลงานไม่เกิน 15%
          11. ติดตามดูแลการเก็บค่า Page charge ตามที่วารสารประกาศไว้อย่างเคร่งครัดและให้มีการดำเนินการอย่างโปร่งใส
          12. บรรณาธิการต้องไม่ทำหน้าที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer reviewer) ในการประเมินบทความวารสารของตนเอง
          13. บรรณาธิการต้องไม่ส่งบทความตนเองมาตีพิมพ์ในวารสารของตนเองไม่ว่าในกรณีใด ๆ

หน้าที่ของผู้ประเมินบทความ
          1. พิจารณาคุณภาพของบทความ เพื่อตีพิมพ์โดยอาศัยความรู้ ความเชี่ยวชาญของตนเองภายใต้หลักการและเหตุผลทางวิชาการ โดยปราศจากอคติหรือความคิดเห็นส่วนตัว
          2. ต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความที่ส่งตีพิมพ์หรือข้อมูลผู้เขียน แก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
          3. ต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียน
          4. หากผู้ประเมินตรวจสอบบทความที่รับการประเมิน พบว่า เป็นบทความที่คัดลอกผลงานของผู้อื่น ต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันที
          5. ผู้ประเมินควรรักษากรอบระยะเวลาการประเมินตามที่วารสารกำหนด
          6. ผลการพิจารณาบทความถือเป็นสิทธิ์ขาดของบรรณาธิการวารสาร
          7. ผู้ประเมินบทความสามารถเสนอแนะเอกสารอ้างอิงที่ทันสมัยให้ผู้เขียนนำไปปรับแก้ไขเพิ่มเติมได้