วิจัยประเมินแบบเสริมพลังการบริหารจัดการด้านอาหาร และโภชนาการในชุมชน

ผู้แต่ง

  • Amavasee Ampansirirat Boromrajonani College of Nursing Songkhla
  • Trongrit Thongmeekhaun Boromrajonani College of Nursing Songkhla
  • Marisa Suwanraj Boromrajonani College of Nursing Songkhla
  • Panasaya Wannawilai Boromrajonani College of Nursing Songkhla
  • Kedsirin Phuphet Boromrajonani College of Nursing Songkhla
  • Wikanda Mad-a-dam Boromrajonani College of Nursing Songkhla

คำสำคัญ:

การประเมินผลโครงการ, การประเมินแบบเสริมพลัง, การบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการในชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการการจัดการด้านอาหารและโภชนาการ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ (1) กำหนดกรอบแนวทางประเมินเสริมพลัง โดยประยุกต์ใช้แนวทางการประเมินเสริมพลังของ Fetterman (2001) ขั้นที่ (2) ดำเนินการประเมินแบบเสริมพลัง ขั้นที่ (3) การประเมินผลหลังปฏิบัติการ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล จากผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล และแกนนำแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ จำนวน 33 คน โดยใช้การประชุมกลุ่มย่อยเพื่อระดมสมอง การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แนวทางการประเมินแบบเสริมพลัง ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้โครงการ ฯ บรรลุคือ (1) ด้านบริบท พบว่า โครงการ ฯ มีความจำเป็นและสอดคล้องกับสภาพปัญหาของชุมชน (2) ปัจจัยนำเข้า พบว่าองค์การบริหารส่วนตำบลมีแผนชุมชนด้านอาหารและโภชนาการชัดเจน และมีทุนทางสังคมที่เป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้อต่อการพัฒนา (3) ปัจจัยด้านกระบวนการ พบว่ามีการบริหารแผนโดยใช้การมีส่วนร่วม ผลที่เกิดขึ้น (1) ผลผลิต เกิดรูปธรรมความสำเร็จของการดำเนินงาน มีความมั่นคงทางอาหาร (2) ผลลัพธ์ แกนนำรู้สึกมีอิสระในการออกแบบและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และ (3) ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ ตำบลควนรูถูกพัฒนาเป็นแหล่งศึกษาดูงานด้านอาหารและโภชนาการระดับจังหวัด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย