รูปแบบการจัดการระบบสุขภาพระดับอำเภอ เพื่อมุ่งสู่อำเภอสร้างเสริมสุขภาพในเขตสุขภาพที่ 2 และเขตสุขภาพที่ 3

ผู้แต่ง

  • Narongsak Noosorn Faculty of Public Health, Naresuan University
  • Artittaya Wangwonsin Faculty of Public Health, Naresuan University
  • Wutthichai Jariya Faculty of Public Health, Naresuan University
  • Waraporn Youngiam Faculty of Public Health, Naresuan University

คำสำคัญ:

ระบบสุขภาพ, ระบบสุขภาพระดับอำเภอ, อำเภอสร้างเสริมสุขภาพ, เขตสุขภาพ, การถอดบทเรียน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนการจัดการระบบสุขภาพระดับอำเภอและเพื่อสังเคราะห์รูปแบบการจัดการระบบสุขภาพระดับอำเภอของ 24 อำเภอ ในเขตสุขภาพที่ 2 และเขตสุขภาพที่ 3 โดยใช้มุมมอง 4 มิติของการประเมินแบบ Balanced Scorecardsการวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงประยุกต์ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม กับ(1) กลุ่มผู้นำการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล และสาธารณสุขอำเภอ จำนวน 48 คน(2) กลุ่มทีมสุขภาพ ได้แก่ นักวิชาการสาธารณสุข พยาบาลวิชาชีพ หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชนจำนวน 145 คนและ (3) กลุ่มทีมสุขภาพจากภาคประชาชน ได้แก่ ผู้นำชุมชน  อาสาสมัครสาธารณสุข นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหรือผู้แทน จำนวน 86 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการศึกษา พบว่า ทุกอำเภอใช้ข้อมูลในการวางแผนร่วมกับภาคีเครือข่าย โดยทั้ง 24 อำเภอมีรูปแบบการจัดการระบบสุขภาพระดับอำเภอที่คล้ายกัน คือ การมีภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนในชุมชน  ประกอบด้วย (1) ภาคผู้ให้บริการ (2) ภาคส่วนราชการโดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ (3) ภาคประชาชนและอาสาสมัครสาธารณสุข ส่วนรูปแบบการจัดการสุขภาพระดับอำเภอที่มีจุดเด่น คือ การมีนายอำเภอเป็นประธานร่วมขับเคลื่อนภายใต้ประเด็นคุณภาพชีวิตและผลักดันให้เกิดนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพระดับอำเภอโดยปัจจัยที่นำไปสู่ผลสำเร็จคือ การมีนโยบายการจัดการระบบสุขภาพระดับอำเภอที่ชัดเจน การมีส่วนร่วมของชุมชน  การมีคณะทำงานการจัดการระบบสุขภาพระดับอำเภอที่มีศักยภาพผู้บริหารทุกระดับเห็นความสำคัญและให้การสนับสนุนติดตามอย่างต่อเนื่อง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย