การพัฒนารูปแบบการบูรณาการการส่งเสริมสุขภาพกับหลักศาสนาอิสลาม เพื่อป้องกันโรคเรื้อรังของประชาชนไทยมุสลิม

ผู้แต่ง

  • Kertsanate Katesar Doctor of Philosophy Program in Public Health, Western University
  • Prapapen Suwan Doctor of Philosophy Program in Public Health, Western University
  • Suree Chanthamolee Doctor of Philosophy Program in Public Health, Western University
  • Mayuna Srisuphanunt Doctor of Philosophy Program in Public Health, Western University

คำสำคัญ:

หลักศาสนาอิสลาม, โรคเรื้อรัง, ไทยมุสลิม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคเรื้อรังในกลุ่มไทยมุสลิมที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในอำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา ขั้นตอนการพัฒนารูปแบบนี้ดำเนินการตามหลักการการวิจัยเชิงพัฒนา (research and development) โดยแบ่งขั้นตอนเป็น 3 ขั้นตอน คือ (1) การวิเคราะห์สถานการณ์ (2) การพัฒนารูปแบบฯ และ (3) การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบฯ ให้สมบูรณ์ ใช้กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (AIC) โดยมีกลุ่มภาคีเครือข่ายสุขภาพร่วมกับผู้วิจัยเป็นผู้วางแผน ดำเนินการ และประเมินผลตลอดทั้ง 3 ขั้นตอน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำศาสนาอิสลาม และครูผู้สอนศาสนาอิสลาม เป็นการวิจัยกึ่งการทดลอง (quasi-experimental research) และใช้รูปแบบการวิจัย Two Group Pretest-Posttest Design ผลการทดลอง พบว่า รูปแบบที่สร้างขึ้นมีประสิทธิผลทำให้ความรู้ ความเชื่อ และการปฏิบัติตัวด้านการส่งเสริมสุขภาพเกี่ยวกับ 3 อ. ของกลุ่มทดลองดีขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ และหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าความความดันโลหิต (BP) น้ำตาลในเลือด (FBS) น้ำหนัก เส้นรอบเอว ลดลงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มเปรียบเทียบ นอกจากนี้ยัง พบว่า กลุ่มทดลองมีความพึงพอใจมากที่สุด ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมของรูปแบบที่จัดให้ รูปแบบการบูรณาการการส่งเสริมสุขภาพกับหลักศาสนาอิสลาม เพื่อป้องกันโรคเรื้อรังของประชาชนไทยมุสลิม ที่สร้างขึ้นเป็นรูปแบบที่หน่วยงานสาธารณสุขสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการป้องกันโรคเรื้อรังโดยเฉพาะเบาหวานและความดันโลหิตสูงรวมถึงโรคเรื้อรังอื่นๆ โปรแกรมต่างๆ ที่ดำเนินการกับประชาชนไทยมุสลิมกลุ่มเสี่ยงควรจะได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องรวมถึงการเพิ่มศักยภาพของภาคีเครือข่ายสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและยั่งยื

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย