การศึกษาความเร็วลมผ่านห้องชุดพักอาศัยในอาคารอูนิเต ดาบิตาซียง

ผู้แต่ง

  • Sasitorn Srifuengfung Institute for Research and Academic Services, Assumption University

คำสำคัญ:

ความเร็วลม, ความเร็วลมในอาคาร, อาคารชุดพักอาศัยอาศัย, อาคารอูนิเต ดาบิตาซียง, เลอ คอร์บูซิเยร์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาความสามารถในการถ่ายเทอากาศของอาคารอูนิเต ดาบิตาซียง (Unite’ d’Habitation) ว่าจะสามารถแก้ปัญหาการขาดการระบายอากาศที่ดีในหน่วยห้องชุดอาคารพักอาศัย โดยการจำลองการไหลของลมที่พัดผ่านหน่วยพักอาศัยของอาคารพักอาศัยชื่ออาคารอูนิเต ดาบิตาซียง โดยวิธีทางธรรมชาติในประเทศไทย ทั้งนี้มุ่งให้เกิดความเป็นไปได้ในการใช้การระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติ การศึกษาใช้วิธีจำลองผลด้วยโปรแกรมพลศาสตร์ของไหล (Computational Fluid Dynamics--CFD) ทดสอบกับแปลนและรูปตัดของอาคาร เพื่อวิเคราะห์การระบายอากาศ  ผลการวิจัยสรุปว่าอาคารชุดพักอาศัยที่มีรูปแบบ แบบอาคารอูนิเต ดาบิตาซียง สามารถใช้ลมธรรมชาติในการสร้างสุขอนามัยได้  จากการศึกษาทั้งหมด พบว่า แสดงให้เห็นว่าห้องชุดนี้มีการระบายอากาศแบบพัดผ่านได้แบบข้ามไปอีกด้านได้ (cross ventilation) ได้จริง และยูนิตที่มีรูปตัดเป็นรูป “L” ใช้ด้านพื้นที่ด้านตั้งเป็นด้านรับลม จะมีการไหลของภายในห้องชุดที่ความเร็วสูงกว่า มีการถ่ายเทอากาศได้ดีกว่า  จึงเป็นที่ยืนยันว่าการออกแบบอาคารที่เป็นลักษณะนี้สามารถระบายอากาศได้ดี เหมาะที่จะใช้เป็นต้นแบบในการสร้างอาคารชุดพักอาศัยที่สามารถถ่ายเทอากาศได้อย่างดีในการสร้างอาคารชุดพักอาศัยของรัฐที่จะสร้างให้กับประชาชน พลเมืองในอนาคต ผลการวิจัยนี้นำไปสู่แนวทางการออกแบบอาคารพักอาศัยในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมให้อาคารมีประสิทธิภาพในการระบายอากาศโดยวิธีทางธรรมชาติให้ดียิ่งขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย