โพรไบโอติกไมโครแคปซูลโดยวิธีพ่นแห้ง

ผู้แต่ง

  • Teerawat Boonsom Faculty of Pharmacy, Eastern Asia University
  • Ekachai Dumkliang Faculty of Pharmacy, Eastern Asia University
  • Tanatip Thamacharoensuk Faculty of Pharmacy, Eastern Asia University

คำสำคัญ:

โพรไบโอติกไมโครแคปซูล, โพรไบโอติก, แลคโตบาซิลัสแรมโนซัสสายพันธุ์จีจี, ไมโครเอนแคปซูเลชัน, วิธีพ่นแห้ง

บทคัดย่อ

จุลินทรีย์โพรไบโอติกจะมีประโยชน์ต่อร่างกายก็ต่อเมื่อจุลินทรีย์โพรไบโอติกนั้นมีชีวิตรอดจนเข้าสู่ร่างกายและมีปริมาณที่เพียงพอ เนื่องจากจุลินทรีย์โพรไบโอติกจะมีอัตราการรอดชีวิตต่ำ หากนำจุลินทรีย์โพรไบโอติกมาเติมในอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทันที จะไม่เกิดประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ ดังนั้นจึงมีการนำเทคนิคไมโครเอนแคปซูเลชันมาประยุกต์ใช้ร่วมกับวิธีพ่นแห้งเพื่อกักเก็บโพรไบโอติกในไมโครแคปซูล จะส่งผลให้เพิ่มอัตราการรอดชีวิตของจุลินทรีย์โพรไบโอติก เทคโนโลยีไมโครเอนแคปซูเลชัน เป็นเทคนิคที่ช่วยเพิ่มความคงตัวของเซลล์ อีกทั้งเพิ่มอัตราการรอดชีวิตและความคงตัวของเซลล์ระหว่างการผลิตและการเก็บ เทคนิคไมโครเอนแคปซูเลชัน เป็นกระบวนการห่อหุ้มสารแกนกลางด้วยสารห่อหุ้ม เพื่อช่วยเพิ่มความคงตัวของสารแกนกลางและทำให้เกิดระบบการปลดปล่อยสารแกนกลาง สามารถควบคุมปริมาณ เวลาในการปลดปล่อย และบริเวณที่ต้องการปลดปล่อย ส่วนวิธีพ่นแห้ง คือผลิตผงแห้งจากของเหลวโดยการพ่นฝอย มี 3 ขั้นตอน คือ (1) การเตรียมอิมัลชันของจุลินทรีย์โพรไบโอติกและสารห่อหุ้ม (2) การใช้แรงดัน ทำให้สารเกิดละอองฝอยขนาด 10-300 ไมโครเมตร (3) การอบแห้ง โดยผ่านละอองฝอยในอากาศร้อน ในช่วงเวลาสั้น ๆ ไม่กี่วินาทีจนถึงมิลลิวินาที ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการกักเก็บและการรอดชีวิตของโพรไบโอติก คือ ชนิดของโพรไบโอติก สารห่อหุ้ม ปริมาณของสารห่อหุ้ม อุณหภูมิขาเข้าและอุณหภูมิขาออก อัตราเร็วในการพ่น สัดส่วนของส่วนประกอบในสารห่อหุ้ม (กรณีใช้สารห่อหุ้มมากกว่า 1 ชนิดร่วมกัน)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-25

ฉบับ

บท

บทความพิเศษ