อุบัติการณ์และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการกลับมารักษาซ้ำใน 28 วัน ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในโรงพยาบาลอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • Usa Iamlaor Ang Thong Hospital
  • Yaowares Saisawang Ang Thong Hospital
  • Piyaluck Chaisuwan Ang Thong Hospital
  • Aree Kopattanakit Ang Thong Hospital

คำสำคัญ:

การกลับมารักษาซ้ำใน28วัน, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, ปัจจัยที่สัมพันธ์

บทคัดย่อ

 การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษา แบบ ย้อนหลัง (retrospective cohort study) ในผู้ป่วยโรคปวดอุดกั้นเรื้อรังที่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลอ่างทอง ปี พ.ศ.2557-2559 วัตถุประสงค์การวิจัยได้แก่ (1) เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การReadmissionของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในโรงพยาบาลอ่างทอง (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการ Readmission ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในโรงพยาบาลอ่างทองประชากรได้แก่ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่นอนรักษาในโรงพยาบาลอ่างทองระหว่างปี พ.ศ.2557-2559 จำนวน 516 ราย เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ แบบบันทึกการเก็บข้อมูล ส่วนบุคคลได้แก่ อายุ เพศ สถานภาพสมรส การสูบบุหรี่ จำนวนบุหรี่ที่สูบต่อวัน จำนวนปีที่เลิกบุหรี่ ชนิดของ COPD โรคร่วม ค่ารักษาพยาบาลในแต่ละครั้ง ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล การเก็บรวบรวมข้อมูลจากประวัติในเวชระเบียนผู้ป่วย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ chi square และ หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการ readmissionในผู้ป่วย COPD โรงพยาบาลอ่างทอง ผลการศึกษาพบว่า อุบัติการณ์การ Readmissionในผู้ป่วย COPD ร้อยละ23.8 การ Readmission ในผู้ป่วย COPD โรงพยาบาลอ่างทองความสัมพันธ์กับ เพศ (RR = 5.78) อายุ (RR = 1.47) สถานภาพสมรส (RR = 2.13) จำนวนมวนบุหรี่ที่สูบต่อวัน (RR = 1.46) p < 0.001และมีความสัมพันธ์กับ อาชีพ (RR = 1.61) ชนิดของCOPD (RR = 0.77) อาชีพ (RR = 1.61) จำนวนการปีที่เลิกบุหรี่ (RR = 1.76) (p < 0.05) ค่าเฉลี่ยการรักษาพยาบาลในแต่ละครั้งที่นอนโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น 15,190 บาท ค่าเฉลี่ยระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลแต่ละครั้งคือ 6.41 วันนอน ผลการวิจัยสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วย COPD ที่ COPD Clinic หอผู้ป่วยและแผนกฉุกเฉินและนำไปใช้ในการส่งเสริมสุขภาพประชากรเกี่ยวกับการสูบบุหรี่และการเลิกบุหรี่

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-28