ห่วงโซ่การรอดชีวิต: คุณภาพและความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยวิกฤติ

ผู้แต่ง

  • Malee Kumkong Boromrajonani College of Nursing Songkhla

คำสำคัญ:

ห่วงโซ่การรอดชีวิต, ห่วงโซ่การป้องกัน, การช่วยชีวิต, การดูแลผู้ป่วยวิกฤติ

บทคัดย่อ

คุณภาพและความปลอดภัย เป็นเป้าหมายสำคัญในการดูแลรักษาผู้ป่วยวิกฤติ หากผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลรักษาจะมีโอกาสเสียชีวิตสูง กระบวนการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องและไร้รอยต่อ จึงเป็นสิ่งสำคัญของห่วงโซ่การรอดชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นในโรงพยาบาล โดยจัดกระบวนการตามห่วงโซ่การรอดชีวิต 5 ห่วงโซ่ เป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การป้องกันและการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน เป็นการดูแลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นโดยนำห่วงโซ่การป้องกันมาใช้เป็นแนวทางดูแลรักษาได้แก่  (1) การเรียนรู้ของทีม ในการตรวจจับอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย การดูแลช่วยเหลือเบื้องต้น และวิธีการขอความช่วยเหลือ (2) การเฝ้าติดตามอาการผู้ป่วย โดยประเมินอาการและวัดสัญญาณชีพอย่างถูกต้อง วัดครบถ้วน ความถี่เหมาะสม และแปลความหมายอาการและสัญญาณชีพ (3) การรับรู้ภาวะอันตรายของผู้ป่วย โดยใช้สัญญาณหรืออาการเตือนภาวะวิกฤติ เป็นเครื่องมือในการติดตามประเมินอาการ และจัดระดับความรุนแรงของผู้ป่วยนำไปสู่การตัดสินใจดูแลรักษา (4) การเรียกขอความช่วยเหลือโดยรายงานหรือตามทีมที่มีความชำนาญกว่ามาดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีอาการแย่ลง ใช้ระบบสื่อสารที่เป็นสากลและมีประสิทธิภาพด้วย SBAR และ (5) การตอบสนอง โดยการขอปรึกษาและการตอบสนองของทีมช่วยเหลือที่รวดเร็ว ทันเวลา และระยะที่ 2 การช่วยชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพและการดูแลหลังภาวะหัวใจหยุดเต้น โดยเตรียมความพร้อมทุกด้านให้สามารถช่วยชีวิตได้ทันที ทั้งเครื่องมือ อุปกรณ์ และปฏิบัติการช่วยชีวิตตามขั้นตอนอย่างมีประสิทธิภาพทันทีที่ผู้ป่วยเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น พร้อมกับค้นหาสาเหตุและแก้ไข และดูแลหลังภาวะหัวใจหยุดเต้นให้คงไว้ซึ่งระบบไหลเวียนเลือดเพื่อให้ผู้ป่วยรอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ

 

 

 

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-20