ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษามหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

ผู้แต่ง

  • ชวิศา แก้วอนันต์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • วนิศรา มาชะนา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • ศิรินันท์ ปุยะโท คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

นักศึกษา, ความเครียด, การจัดการความเครียด

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive research) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความเครียดและระดับการจัดการความเครียดของนักศึกษามหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย (2) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับความเครียดและระดับการจัดการความเครียดของนักศึกษามหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่  แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง และแบบสอบถามการจัดการความเครียด กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษามหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย จำนวน 342 คน  ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for windows  ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ unpaired t-test, One-way ANOVA และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD (least significant difference) ผลการวิจัยพบว่า (1) ส่วนใหญ่มีระดับความเครียดอยู่ในเกณฑ์ปกติ คิดเป็นร้อยละ 39.8 และ ระดับความเครียดสูงกว่าปกติเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 35.1 (2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียด ได้แก่ เพศ
(p < 0.05)  และกลุ่มสาขาวิชา  (p < 0.01)  (3) การจัดการความเครียด อยู่ในระดับปานกลาง มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 91.8 (4) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความเครียด ได้แก่ กลุ่มสาขาวิชา  (p < 0.01)  และรายได้ที่ได้รับ (p < 0.01)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-13