การพัฒนาวิธีการวิเคราะห์หาปริมาณเมทธิลแอนทรานิเลตในพืชสมุนไพรด้วยวิธี UV-Spectroscopy และพิสูจน์เอกลักษณ์ด้วย FTIR

ผู้แต่ง

  • Ruchira Khoomsab คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • Nantharak Rodkate คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

การสกัด, พืชสมุนไพร, เมทิลแอนทรานิเลท, ยูวีสเปกโทรสโกปี,ฟูเรียร์ทรานฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการสกัดสารเมธิลแอนทรานิเลทจากพืชสมุนไพรจาก ขิง ข่า และตะไคร้ ด้วยตัวทำละลาย 2 ชนิดคือ 1 % (v/v) ซัลฟิวริกในเมทานอล และ 1 M ซัลฟิวริกในน้ำ สารสกัดที่ได้นำไปวัดค่าการดูดกลืนแสงเทียบกับกราฟมาตรฐานเมธิลแอนทรานิเลทที่ความยาวคลื่น 273 นาโนเมตร พบว่าการสกัดทั้งสองวิธีให้ผลสอดคล้องกัน และสารสกัดที่มีปริมาณสารเมธิลแอนทรานิเลทมากที่สุดคือ ข่า เท่ากับ 6.813 %w/w พืชสด รองลงมาคือ ตะไคร้ และขิง เท่ากับ 1.349 และ 0.606 %w/w พืชสด ที่สกัดด้วย 1%(v/v) ซัลฟิวริกในเมทานอล ตามลำดับ ผลจากการวิเคราะห์ความถูกต้องของการวัดได้ค่าเปอร์เซ็นต์การกลับคืนอยู่ระหว่าง 97.2-104.3% และความเที่ยงในการวัดได้ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ที่ความเข้มข้น 30 mgL-1 ในขิง ข่าและตะไคร้ เท่ากับ 3.6, 3.3 and 0.8% ตามลำดับ  และจากการศึกษาการวิเคราะห์สารเมธิลแอนทรานิเลทด้วยปฏิกิริยาไดอะโซไทเซชัน ผลของการวิเคราะห์ค่าร้อยละผลผลิตสารมาตรฐานเมธิลแอนทรานิเลทเท่ากับ 58.97 เปอร์เซ็นต์ และสามารถพิสูจน์เอกลักษณ์ของปฏิกิริยาไดอะโซไทเซชันด้วยเทคนิค FTIR

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-25