รูปแบบการพัฒนาการบริหารและผู้บริหารท่าอากาศยาน ในประเทศสหราชอาณาจักร ตามแผนการพัฒนาการขนส่งทางอากาศ ระยะ 30 ปี (ค.ศ. 2003 – 2030)

ผู้แต่ง

  • สุฐิต ห่วงสุวรรณ คณบดีคณะการบิน มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • สุกรี แก้วมณี - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะวิทยาการจัดการ - กรรมการผู้จัดการ ศูนย์ธุรกิจ - ที่ปรึกษาเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

คำสำคัญ:

การบริหารท่าอากาศยาน, ผู้บริหารท่าอากาศยาน, ประเทศสหราชอาณาจักร, แผนการพัฒนา, airport administration, airport administrators, The United Kingdom, development plan

บทคัดย่อ

บทความนี้กล่าวถึงแผนการพัฒนาการบริหารและผู้บริหารของท่าอากาศยานในประเทศสหราชอาณาจักร ตามแผนพัฒนาท่าอากาศยาน ระยะ 30 ปี คือตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 ถึงปี ค.ศ. 2030 โดยนำเสนอข้อมูลจำนวน เที่ยวบิน จำนวนผู้โดยสาร ปริมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศทั้งหมดในประเทศ และนำเสนอประเด็นสำคัญ ของแผนพัฒนาระยะ 30 ปีโดยสังเขป เป็นข้อมูลเบื้องต้น สาระสำคัญของบทความกล่าวถึงรูปแบบการพัฒนา ผู้บริหารและการบริหารท่าอากาศยาน 4 แห่งที่เลือกเป็นตัวอย่าง ประกอบด้วยท่าอากาศยานที่สังกัดบริษัท บีเอเอ มหาชนจำกัด ท่าอากาศยานนานาชาติอีสท์มิดแลนด์ ท่าอากาศยานนานาชาตินิวคาสเซิล และ ท่าอากาศยาน นานาชาติแมนเชสเตอร์ โดยแยกนำเสนอในส่วนที่เกี่ยวกับ นโยบาย กลยุทธ์และกระบวนการพัฒนา และได้เสนอแนะ ประเด็นการพัฒนาที่สามารถนำมาปรับใช้กับการพัฒนาผู้บริหารท่าอากาศยานในประเทศไทย

 

The Developmental Models of Airport Administration and Managers in the United Kingdom in Accordance with the 30 Years Air Transportation Development Plan (2003-2030)

This article discusses the plans to develop the administration and administrators of airports in the United Kingdom in accordance with the 30 years-plan (2003-2030) for air transportation development. Information about airports and the total volumes of air travelling and air cargo handling of the country is presented, and the main focuses of the 30 years-plan are briefly reviewed as the background. The main coverage of this article is about the policies, strategies, and processes of the development plans of the selected airports including the airports of the BAA Public Co., the East Midland International Airport, the New Castle International Airport, and the Manchester International Airport. The policies, strategies and processes of these development plans are discussed. Applications for the development of the administrators of international airports in Thailand are suggested.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ