ภัยในหน้าหนาวจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5X)

ผู้แต่ง

  • ธิดารัตน์ ผลพิบูลย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • อิสรีย์ฐิกา ชัยสวัสดิ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • อนุวัตร รุ่งพิสุทธิพงษ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน, มะเร็งปอด, วิกฤติหมอกควัน, PM2.5, lung cancer, Haze Episode

บทคัดย่อ

การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว รวมทั้งความต้องการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ส่งผลให้ ภาคเหนือของประเทศไทยมีอนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน เพิ่มสูงขึ้น อนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็ก เหล่านี้ได้นำไปสู่ความกังวลในเรื่องของสุขภาพของประชากร โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเป็น ที่รู้กันดีว่าอัตราการเกิดโรคมะเร็งปอดในเพศหญิงบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยมีค่าสูงที่สุดในเอเชีย ข้อมูล พบว่าปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ช่วงก่อนและหลังเกิดปัญหาวิกฤติหมอกควันในปี 2556 ระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2555 ถึง มีนาคม 2556 ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการเผาในพื้นที่ป่าและการเผาพื้นที่ทำการเกษตร ในขณะเดียวกันพบว่าค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของฝุ่น PM2.5 ในบรรยากาศทั่วไปมีปริมาณสูงเกินค่ามาตรฐานที่ทาง สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐและกรมควบคุมมลพิษกำหนดไว้คือ 35 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ

 

Disaster in the Winter of Particle Matter (PM2.5)

Along with rapid economic growth and enhanced agricultural productivity, particulate matter of less than 2.5 microns emissions in the northern cities of Thailand have been increasing. Emissions of particulate matter have brought about a series of public health concerns, particularly chronic respiratory diseases. It is well known that lung cancer incidence among northern Thai women is one of the highest in Asia. Data found that the levels of fine particulate matter (PM2.5) before and after the “Haze Episode” in 2013, from November 2012 to March 2013 were from forest fire and agricultural field burning. In addition the 24-hour PM2.5 concentrations were higher than the national standard (United States Environmental Protection Agency, US.EPA.) and Thailand standard (Pollution Control Department, PCD) of 35 ug/m3 and 50 ug/m3 respectively.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ