การซ่อนลายน้ำในภาพดิจิตัลโดยใช้ฟัซซี่ซีมีนและระบบอาณานิคมมด

ผู้แต่ง

  • กัญจน์ณิชา โภคอุดม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • ยุทธพงษ์ รังสรรค์เสรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • สุปราณี วงษ์แสงจันทร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

การซ่อนลายน้ำดิจิตัล, ฟัซซี่ซีมีน, ระบบอาณานิคมมด, Digital Image Watermarking, FCM, ACS

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอวิธีใหม่สำหรับการซ่อนลายน้ำในภาพดิจิตัลบนโดเมนดีซีที อัลกอริธึมฟัซซี่ซีมีน ถูกนำมาใช้ในการจำแนกบล็อกดีซีทีขนาด 8×8 พิกเซล ออกเป็นสองประเภทที่แตกต่างกัน อัลกอริธึมของระบบ อาณานิคมมดได้ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อค้นหาความเหมาะสมระหว่างความสามารถด้านการมองเห็น และความคงทนของลายน้ำ ผลลัพธ์ที่ได้คือตำแหน่งของค่าสัมประสิทธิ์ความถี่และค่าพลังงานในการซ่อนลายน้ำ ที่เหมาะสมสำหรับแต่ละประเภทของบล็อก ผลการทดลองที่ได้แสดงให้เห็นว่าวิธีที่นำเสนอนี้สามารถให้ลายน้ำที่ ไม่สามารถมองเห็นได้และมีความคงทนต่อการประมวลผลภาพในหลากหลายรูปแบบ ประสิทธิภาพของอัลกอริธึม ที่นำเสนอได้นำมาทดลองเปรียบเทียบกับงานวิจัยที่เคยมีก่อนหน้า


Digital Image Watermarking using FCM and ACS

This paper proposes, a new approach for digital image watermarking in DCT domain. was proposed. This approach used a Fuzzy C-Mean algorithm (FCM) to classify 8×8 DCT blocks as two different regions. The Ant Colony System (ACS) were designed and developed to search for the optimal trade-off between watermark imperceptibility and watermark robustness. The resulting optimal frequency bands and embedding strength were therefore dependent on the region type. The experimental results show that the proposed scheme yielded a watermark that was invisible and robust against various image manipulations. The effectiveness of this algorithm was also comp ared with the previous work.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย