ความคาดหวังต่อการประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมการบิน ของนักศึกษาคณะการบิน มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

ผู้แต่ง

  • ลลิตลักษณ์ ธารีเกษ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ปีการศึกษา 2555
  • พจนา สิมะเสถียร หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

ความคาดหวัง, การประกอบอาชีพ, อุตสาหกรรมการบิน, นักศึกษาคณะการบินมหาวิทยาลัยอีสเทิร์น เอเชีย, expectations, employment, aviation industry

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความคาดหวังต่อการประกอบอาชีพในอุตสาหกรรม การบินของนักศึกษาคณะการบิน มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย และเปรียบเทียบความคาดหวังต่อการประกอบอาชีพ ในอุตสาหกรรมการบินของนักศึกษาที่มี เพศ ชั้นปีการศึกษา ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา และอาชีพของบิดา มารดาหรือผู้ปกครองแตกต่างกัน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรในการวิจัย คือ นักศึกษาคณะการบิน มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ชั้นปีที่ 1 ถึงปีที่ 4 จำนวน 610 คน และสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 250 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิง ได้แก่ สถิติ t-test และ ANOVA ทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วย Scheffe ผลการวิจัย พบว่า (1) ค่าเฉลี่ยความคาดหวังโดยรวมต่อการประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมการบินของ นักศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด (2) นักศึกษาที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน มีความคาดหวังต่อการประกอบอาชีพ ในอุตสาหกรรมการบินแตกต่างกัน ในขณะที่นักศึกษาที่มีเพศต่างกันมีความคาดหวังต่อการประกอบอาชีพ ในอุตสาหกรรมการบินแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

 

Expectations of the Aviation Students at Eastern Asia University toward Employment in the Aviation Industry

The purposes of this survey research were to study the expectations of the aviation students, at Eastern Asia University concerning employment in the aviation industry and to compare the expectations of the students who had different individual factors. Questionnaires were used as instruments for collecting data. The population was the students in Aviation studies, 250 students were randomly selected as a sample group were calculated to 250. The collected data were analyzed using statistics including percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test to compare the difference among individual factors and the expectation converning employment in the aviation industry. The results were as follows: (1) The Aviation students, Eastern Asia University, had general expectations to an employment in Aviation Industry at the highest level. (2) The expectations of Aviation students, Eastern Asia University who had different individual factors, which were class year, G.P.A, and parent’s career were statistically significant, whereas the factor of gender didn’t influence any expectations o f the students.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย