ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพ บริการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

ผู้แต่ง

  • สมหมาย จันทรอัมพร นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพบริการ, พยาบาลวิชาชีพ, participation in nursing service quality improvement, professional nurses

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล และศึกษาความ สัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้การดำเนินงานพัฒนาคุณภาพ และบรรยากาศองค์การกับการมีส่วนร่วมในการ พัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม ที่ได้รับการตรวจสอบตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน วิเคราะห์ค่าความเที่ยงในตอนที่ 2,3 และ 4 เท่ากับ 0.82,0.90 และ 0.94 ประชากร คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าจำนวน 650 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 242 คน โดยการใช้สูตร Cochran วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคว์สแคว์ และค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพ บริการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพโดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ ตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ส่วนระดับ การศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล การรับรู้การดำเนินงานพัฒนาคุณภาพ ได้แก่ นโยบาย เป้าหมาย แนวทางการดำเนินงาน และปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงาน มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วม ในการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลในระดับปานกลาง และบรรยากาศองค์การ ได้แก่ ความรับผิดชอบ การให้รางวัล ความโปร่งใส ความยึดมั่นในทีม มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลระดับปานกลาง ส่วนความยืดหยุ่น มาตรฐาน มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลระดับสูง

 

Factors Related to Participation in Nursing Service Quality Improvement of Professional Nurses, Phramongkutklao Hospital

The purposes of this research were to study the participation in nursing service quality management of professional nurses at Phramongkutklao hospital, and to examine its relation to personal factors, perception of service quality management and organizational climate. Research tools used were questionnaires tested for validity by three experts. The reliability analysis of the 2nd, 3rd and 4th parts of the questionnaires were 0.82, 0.90 and 0.94. The sample consisted of 242 professional nurses at Phramongkutklao hospital. Statitical techniques used to analyze the data were mean, standard deviation, Chi Square and Pearson correlation coefficients. Findings showed that the overall average contributions in nursing service quality management of professional nurses were at high level. In relation to the participation in the improvement of quality nursing profession, personal factors including position and experience were statistically significant (p <0.01) with the level of education found to have no relation. Perception of the improvement operations, including quality policy goals, guidelines and operational support factors related at the middle level. Factors relating to responsibilities, rewarding, transparency, and team work associated with participation in the improvement of quality nursing management at middle level while flexibility, standard, related at high level.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย