ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อความสามารถแห่งตนและบทบาทพี่เลี้ยงของพยาบาลโรงพยาบาลเวชธานี

ผู้แต่ง

  • Areerat Somboon Eastern Asia University

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างพลังอำนาจ, ความสามารถแห่งตน, บทบาทพี่เลี้ยง, พยาบาลพี่เลี้ยง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถแห่งตนและบทบาทของพยาบาลพี่เลี้ยงในโรงพยาบาลเวชธานีก่อนและหลังการเสริมสร้างพลังอำนาจ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลพี่เลี้ยงจำนวน 16 คนโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยเครื่องมือ 2 ชุด ได้แก่ชุดที่ 1 เครื่องมือทดลอง มี 2 ส่วน ประกอบด้วย โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในพยาบาลพี่เลี้ยง และคู่มือสำหรับพยาบาลพี่เลี้ยงในการเสริมสร้างพลังอำนาจ และชุดที่ 2 เครื่องมือเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ส่วนดังนี้ ส่วนที่ 1 ลักษณะส่วนบุคคลของพยาบาลวิชาชีพ  ส่วนที่ 2 ความสามารถแห่งตนของพยาบาลพี่เลี้ยงและส่วนที่ 3 การปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิเท่ากับ 0.85 และค่าความเที่ยงของแบบสอบถามด้วยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคความสามารถแห่งตนเท่ากับ 0.90 และการปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงเท่ากับ 0.98วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงเป็นความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถแห่งตนและบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง ด้วยสถิติ Paired t-test ใช้วิเคราะห์ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ผลการวิจัยพบว่า (1) ค่าเฉลี่ยความสามารถแห่งตนของพยาบาลพี่เลี้ยงในโรงพยาบาลหลังการเสริมสร้างพลังอำนาจสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) คะแนนเฉลี่ยบทบาทของพยาบาลพี่เลี้ยงในโรงพยาบาลเวชธานีหลังการเสริมสร้างพลังอำนาจสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-08-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย