ไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลืองในมะเร็งต่อมลูกหมาก

ผู้แต่ง

  • Em-on Chaipratep มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี

คำสำคัญ:

ไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลือง, มะเร็งต่อมลูกหมาก, ตัวรับเอสโตรเจน

บทคัดย่อ

โรคมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่ไวกับฮอร์โมนโดยเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ในเพศชาย ประชากรในอเมริกาเหนือมีอุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากสูงถึง 120/100,000 คนต่อปี ในขณะที่ชาวเอเชียพบ 5/100,000 คนต่อปี ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน (อาหาร อาชีพ วิถีการดำเนินชีวิต) โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารซึ่งสัมพันธ์กับหลายการศึกษาที่พบว่าชาวเอเชียที่บริโภคถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองต่อวันสูงกว่าชายชาวยุโรป 10-100 เท่า มีความเสี่ยงต่ำในการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก สารไอโซฟลาโวนที่พบในถั่วเหลืองเป็นเอสโตรเจนที่ได้จากพืช (phytoestrogens) ซึ่งมีโครงสร้างและการออกฤทธิ์คล้ายกับ 17β-estradiol และยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี ได้แก่ genistein daizein สมมุติฐานกลไกการออกฤทธิ์ของไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลืองในการป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก ประกอบด้วย 1. ลดระดับ Luteinizing hormone(LH) จึงส่งผลให้ลูกอัณฑะผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดลง 2.เพิ่มการแสดงออกของตัวรับเอสโตรเจนชนิดเบตา (ERβ) จึงส่งผลยับยั้งการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก โดยแนะนำให้บริโภคไอโซฟลาโซนในรูปแบบอาหารมากกว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เนื่องจากในถั่วเหลืองยังมีสารอาหารที่มีคุณต่อร่างกายอีกมาก ได้แก่ โปรตีน ใยอาหาร วิตามินและแร่ธาตุ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-11-18

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ