ธรณีพิบัติภัยแผ่นดินไหวในไทยกับเนปาลคนละปรากฏการณ์คนละที่

ผู้แต่ง

  • Pakorn Suwanit Mahidol University

คำสำคัญ:

แผ่นดินไหว, ธรณีพิบัติภัย, คลื่นไหวสะเทือน, ขนาดแผ่นดินไหว

บทคัดย่อ

แผ่นดินไหวถือว่าเป็นธรณีพิบัติภัยชนิดหนึ่งที่สามารถหาคำตอบของการเกิด สถานที่เกิดบ่อยๆ ความรุนแรงได้จากการศึกษาธรณีวิทยาเป็นสำคัญ แผ่นดินไหวส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก แผ่นดินไหวที่เพิ่งเกิดขึ้นในประเทศเนปาลเกิดขึ้นเพราะการดันกันของทวีปใหญ่ 2 ทวีปคือทวีปอินเดียกับยูเรเซีย แต่หลังจากนั้นไม่นานก็พบแผ่นดินไหวในภาคใต้ของประเทศไทยซึ่งเกิดจากรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย การเกิดแผ่นดินไหวในไทยเกิดอยู่บนแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียที่ไทยอยู่ในทวีปนี้ การเกิดอาจมีระยะเวลาที่เผอิญใกล้กัน แต่ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกันเลย การเกิดแผ่นดินไหวแต่ละครั้งจะปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปของคลื่นไหวสะเทือนที่วัดได้จากเครื่องไซสโมกราฟ ในอดีตมีการวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหวโดยใช้ความรู้สึกของคนและความเสียหายของสิ่งก่อสร้างเป็นหลัก แต่ไม่สามารถสร้างเป็นมาตราส่วนที่ใช้ได้เหมือนกันทั่วโลก การวัดค่าแผ่นดินไหวในปัจจุบันจึงเป็นการวัดขนาดที่เรียกว่าแมกนิจูดซึ่งใช้วิธีการทางฟิสิกส์มาช่วย แต่ประเทศไทยมักใช้มาตราส่วนเป็นริกเตอร์ ซึ่งในโลกทั้งหมดก็ไม่ได้ใช้คำว่าริกเตอร์เสมอไปเพราะมีข้อจำกัดหลายอย่าง ปัจจุบันก็จะเรียกเป็นแมกนิจูด แต่คำว่าแมกนิจูดไม่ใช่หน่วยของแผ่นดินไหว

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-11-18

ฉบับ

บท

บทความพิเศษ