แก้ปวดเฉียบพลันได้อย่างไร

ผู้แต่ง

  • Pilanya Pimpawa Eastern Asia University

คำสำคัญ:

ความปวดเฉียบพลัน, การแก้ไขความปวดเฉียบพลัน

บทคัดย่อ

ความเจ็บปวดเฉียบพลันเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ค่อนข้างบ่อยกับทุกอวัยวะในร่างกาย ในการรักษาตนเองเพื่อลดหรือบรรเทาอาการปวดดังกล่าว ซึ่งส่วนมากมีการนำยาแก้ปวดมาใช้ โดยเฉพาะยา paracetamol , NSAIDs ซึ่งปัญหาที่พบมาในการจัดการความเฉียบพลันก็คือ พบอุบัติการณ์ของการเกิดภาวะตับวายอย่างเฉียบพลันระหว่างช่วงปี ค.ศ. 1998-2003 มีสาเหตุเกิดจากพาราเซตามอล ร้อยละ 48 ซึ่งสัมพันธ์กับการใช้ยาเกินขนาด โดยสรุปพบว่าผู้ป่วยประมาณ 56,000 รายที่ต้องเข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน และมีผู้ป่วย 26,000 รายที่ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล และ 458 รายที่เสียชีวิต1 รวมถึงการใช้ยาแก้ปวดกลุ่มที่ไม่ใช่ เสตียรอยด์( NSAIDs) เพิ่มอัตราความเสี่ยงของ การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลถึง 4 เท่า และ มักจะเกิดภาวะ ARF (acute renal failure) ในเดือนแรกที่เริ่มใช้ยา2ในการป้องกันปัญหาเหล่านี้นั้นในการรักษาความปวดเฉียบพลันต้องเลือกด้วยหลักการใช้ยาและไม่ใช้ยาให้ถูกวิธีและเหมาะสมกับระดับความปวด เพื่อทำให้เกิดการแก้ไขอาการปวดเฉียบพลันได้ทันก่อนที่จะเกิดความปวดเรื้อรังตามมาและช่วยให้สามารถป้องกันแก้ไขปัญหาที่เกิดจากผลข้างเคียงจากการใช้ยา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-11-18

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ