การศึกษาสุนทรียศาสตร์ภูมิทัศน์กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน

ผู้แต่ง

  • อภิชาติ พรหมฤทธิ์ หลักสูตรปริญญาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

สุนทรียศาสตร์, ภูมิทัศน์, กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจและแปลความหมายสุนทรียศาสตร์ภูมิทัศน์ในบริบทไทย พื้นที่ศึกษา “กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน” ผ่านประสบการณ์ทางสุนทรียศาสตร์ของประชาชนที่ได้ใช้พื้นที่ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีเทคนิควิธีในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย การศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การสำรวจพื้นที่ภาคสนาม การสัมภาษณ์ และการเฝ้าสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ในพื้นที่  บทความนี้จะชี้ให้เห็นถึงการศึกษาและการแสดงออกทางสุนทรียศาสตร์ภูมิทัศน์ที่มีมิติมากกว่าในเชิงรูปธรรม หรือกายภาพ และได้นำเสนอกรอบแนวคิดในการอ่านและแปลความสุนทรียศาสตร์ภูมิทัศน์โดยเพิ่มเติมมิติสุนทรียศาสตร์ทางนามธรรม และสุนทรียศาสตร์ภูมิทัศน์ตามความเป็นจริง ซึ่งทับซ้อนกันอยู่ภายใต้บริบทที่ซับซ้อนและหลากหลายของพื้นที่ศึกษา ในภาพรวมของบทความนี้ได้แสดงการพัฒนาความเข้าใจเรื่องการแสดงออกทางสุนทรียศาสตร์ภูมิทัศน์ในพื้นที่ที่มีการซ้อนทับกันของมิติด้านความงามทางภูมิทัศน์ที่หลากหลายในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน อนึ่ง บทความนี้มุ่งหวังให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการในด้านสุนทรียศาสตร์ภูมิทัศน์ โดยกรอบแนวคิดวิธีการอ่านและแปลความที่ได้เสนอแนะไว้นั้นน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาด้านสุนทรียศาสตร์ภูมิทัศน์ต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-07-29

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ