ตัวเหลืองในทารกแรกเกิด : การพยาบาล

ผู้แต่ง

  • สุชาดา ธนะพงค์พร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

ตัวเหลืองในทารกแรกเกิด, การพยาบาล

บทคัดย่อ

อาการตัวเหลืองเกิดจากการมีสารสีเหลืองที่เรียกว่าบิลิรูบิน (Bilirubin) จำนวนมากกว่าปกติคั่งอยู่ในอวัยวะต่างๆ ทำให้เห็นว่ามีผิวหนังทั่วตัว และตาขาวเป็นสีสารสีเหลือง ส่วนใหญ่เกิดจากการมีเม็ดเลือดแดงแตกได้สารที่เรียกว่า บิลิเวอร์ดิน (Biliverdin) ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นสารชื่อบิลิรูบินอยู่ในกระแสเลือดโดยปกติสารนี้จะถูกนำเข้าไปสู่ตับมีการเปลี่ยนแปลงที่เซลล์ของตับเปลี่ยนจากสารที่ละลายน้ำไม่ได้ (แต่ละลายได้ในไขมัน) เป็นสารที่ละลายน้ำได้ ในทารกแรกเกิดพบตัวเหลืองได้มาก เนื่องจากมีจำนวนเม็ดเลือดแดงมากกว่าผู้ใหญ่ และแตกตัวเร็วกว่าผู้ใหญ่และถ้ามีเหตุทำให้มีการเพิ่มขึ้นของบิลิรูบินอาจทำให้เกิดความพิการทางสมองจากภาวะตัวเหลืองที่เรียกว่าภาวะ Kernicterus บทบาทพยาบาลต้องประเมินภาวะตัวเหลืองในเด็กว่าเพิ่มขึ้นเร็วหรือไม่ โดยสังเกตจากสีผิว อาการและอาการแสดง และค่าผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและให้การพยาบาลที่เหมาะสมเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-07-29

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ