ความสัมพันธ์ของปัจจัยทางจิตวิทยาองค์การกับการรับรู้ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของพนักงานบริษัทDRC

ผู้แต่ง

  • ชลธิชา แก้วกาญจน์ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมองค์การ, ผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้างาน, แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์, องค์การแห่งการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยทางจิตวิทยาองค์การกับการรับรู้ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของพนักงานบริษัท DRC (2) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ที่สามารถทำนายการรับรู้ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของพนักงานบริษัท DRCโดยปัจจัยทางจิตวิทยาองค์การ กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานบริษัท DRC จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย แบบสอบถามการรับรู้วัฒนธรรมองค์การ, แบบสอบถามภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้างาน แบบสอบถามแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และแบบสอบถามการรับรู้ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสร้างสมการทำนายโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยทางจิตวิทยาองค์การกับการรับรู้ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของพนักงานบริษัท DRC ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้านคือด้านวัฒนธรรมองค์การ ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้างาน และด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มีความสัมพันธ์กับ การรับรู้ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของพนักงานDRC อย่างมีนัยที่สัมพันธ์ทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ .53 , .41 และ.70  ตามลำดับ (2) ปัจจัยทางจิตวิทยาองค์การได้แก่ 2 ตัวแปรคือ  วัฒนธรรมองค์การ และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ สามารถร่วมกันทำนายการรับรู้ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของพนักงานบริษัท DRC ได้ร้อยละ 53.30 โดยมีสมการทำนายการรับรู้ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ในรูปคะแนนมาตรฐานสามารถเขียนได้ดังนี้ การรับรู้ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ = .580(แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์z1) +.239 (วัฒนธรรมองค์การz2)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-08-03

ฉบับ

บท

บทความวิจัย