การสำรวจภาวะสมองเสื่อม การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน และภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคม จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • Nitikul Boonkaew อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาการพยาบาลใหญ่และผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, ภาวะสมองเสื่อม, ภาวะซึมเศร้า, การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะสมองเสื่อม การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน และภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 88 ราย จากผู้สูงอายุที่พักอาศัยในศูนย์พัฒนาการจัดการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ จังหวัดปทุมธานี ระหว่างสิงหาคมถึงกันยายน พ.ศ. 2557 รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดการดำเนินกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน (basic  Activities of  Daily Living: ADLs) แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุไทย (Thai Geriatric Depression Scale: TGDS) และแบบทดสอบสมรรถภาพของสมอง (Thai Mental State Examination: TMSE) ทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคมีค่าเท่ากับ 0.91, 0.80, และ 0.82 ตามลำดับ วิเคราะห์ผลด้วยสถิติบรรยาย ความถี่ และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ความชุกของภาวะสมองเสื่อมร้อยละ 50 ส่วนใหญ่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานได้เองร้อยละ 79.55 แต่ต้องพึ่งพาผู้ดูแลในการขั้นลงบันได และมีปัญหาในการกลั้นถ่ายหรือต้องสวนอุจจาระ ร้อยละ 46.59 และร้อยละ 44. ตามลำดับ และส่วนใหญ่มีภาวะซึมเศร้าเล็กน้อยร้อยละ 53.41 ดังนั้น ข้อมูลพื้นฐานทางด้านร่างกาย สติปัญญา และจิตใจ อาจเป็นแนวทางสำหรับบุคลากรสุขภาพและผู้ดูแลผู้สูงอายุ ในการป้องกันหรือชะลอภาวะสมองเสื่อม ให้การดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุตามระดับการพึ่งพา รวมถึงแก้ไขและป้องกันภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-12-11

ฉบับ

บท

บทความวิจัย