การบริหารความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน กรณีศึกษา : สายการผลิตรถเข็นสแตนเลส

ผู้แต่ง

  • จิตลดา ซิ้มเจริญ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

การประเมินความเสี่ยง, แผนบริหารจัดการความเสี่ยง, รถเข็นสแตนเลส

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง และประเมินผลความเสี่ยงหลังจากการดำเนินการตามแผนด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานสายการผลิตรถเข็นสแตนเลส  ผลจากการวิจัย พบว่า ความเสี่ยงจากการทำงานของพนักงานมี 5 ด้าน ได้แก่ ความเสี่ยงด้านผู้ปฏิบัติงาน  ด้านอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ด้านผังโรงงาน ด้านระบบและด้านกิจกรรมงาน  โดยมีความเสี่ยงย่อยรวม 18 รายการ และมีปัจจัยเสี่ยงรวม 38 ปัจจัย จากความเสี่ยงทั้งหมด 5 ด้าน จากการประเมินความเสี่ยงด้วยเกณฑ์ 4 ระดับ พบว่า มีปัจจัยความเสี่ยงที่อยู่ในระดับความเสี่ยงสูง (ระดับ 3) 30 ปัจจัย และอยู่ในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (ระดับ 2)  8 ปัจจัย  ผู้วิจัยได้สร้างแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยงซึ่งประกอบด้วยแผนงานลดและแผนงานควบคุมความเสี่ยงรวมทั้งสิ้น 36 แผน และได้ดำเนินการตามแผน 27 แผน คิดเป็นร้อยละ 75.00  ผลจากการประเมินความเสี่ยงครั้งที่ 2 ให้ผลสรุปว่า มีปัจจัยเสี่ยงที่ได้รับการจัดการความเสี่ยงทั้งหมด 15 ปัจจัย สามารถลดระดับความเสี่ยงจากความเสี่ยงสูงมาอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ 13 ปัจจัย  คิดเป็นร้อยละ 86.67 และมีความเสี่ยงที่ไม่ลดลง 2 ปัจจัย ทั้งนี้ จากการประเมินผลสำเร็จที่ได้จากงานวิจัยโดยเจ้าของโรงงาน หัวหน้างาน และพนักงานทุกคนในสายการผลิตรถเข็นสแตนเลส พบว่า ตัวชี้วัดแผนบริหารจัดการความเสี่ยงด้านประสิทธิภาพ ด้านงบประมาณได้ผลประเมินระดับดี ส่วนตัวชี้วัดด้านผลกระทบและเวลาได้ผลประเมินระดับพอใช้  ตัวชี้วัดด้านประโยชน์ที่ได้จากงานวิจัยได้ผลประเมินในระดับดี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-08-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย