การศึกษาผลของค่าความต้านทานดินต่อประสิทธิภาพตัวนำล่อฟ้า

ผู้แต่ง

  • ธนากร น้ำหอมจันทร์ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิรืนเอเชีย
  • อดิกร เสรีพัฒนานนท์ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิรืนเอเชีย
  • พงษ์สวัสดิ์ คชภูมิ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิรืนเอเชีย

คำสำคัญ:

ตัวนำล่อฟ้า, ค่าความต้านทานดิน, สตรีมเมอร์, ประสิทธิภาพตัวนำล่อฟ้า

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้นำเสนอการศึกษาผลของค่าความต้านทานดินต่อประสิทธิภาพตัวนำล่อฟ้า โดยใช้ตัวนำล่อฟ้า 5 รูปลักษณะ ในการทดสอบ ในช่วงค่าความต้านทานดิน 0 – 5 โอห์ม ทำการทดสอบและวัดด้วยแรงดันสูงกระแสตรงขั้วลบตามมาตรฐาน IEC 60060-1, IEC 60060-2 และ IEEE 4-1995 ผลการทดสอบพบว่า เมื่อค่าความต้านทานดินเพิ่มขึ้น 1 โอห์ม ประสิทธิภาพการล่อฟ้าของตัวนำล่อฟ้าแบบ (a), (b), (c), (d) และ (e) มีประสิทธิภาพต่ำลง 0.11-0.27, 0.10-1.10, 0.29-1.30, 1.08-5.36 และ 0.33-1.56 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ประสิทธิภาพการล่อฟ้าอันเนื่องมาจากรูปลักษณะตัวนำล่อฟ้าแบบ (b), (c), (d) และ (e) มีประสิทธิภาพต่ำกว่าตัวนำล่อฟ้าแบบ (a) 6.74, 0.27, 4.84 และ 22.20 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2011-08-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย