ปัจจัยความพร้อมในการจัดการความรู้ของหน่วยงานภาครัฐ: กรณีศึกษาส่วนราชการประจำจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • วณิฎา แช่มลำเจียก นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยอีสเทิรืนเอเชีย

คำสำคัญ:

การจัดการความรู้, ปัจจัยความพร้อมการจัดการความรู้, การจัดการความรู้ในหน่วยงานภาครัฐ, การจัดการความรู้จังหวัดปทุมธานี

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาการจัดการความรู้ของหน่วยงานภาครัฐจังหวัดปทุมธานีใน 3 ด้าน คือ (1) สภาพการปัจจุบัน (2) ปัจจัยความพร้อมในการจัดการความรู้ของจังหวัดปทุมธานี (3) ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการความรู้และ (4) เสนอรูปแบบการเตรียมปัจจัยความพร้อมอันจะนำไปสู่ความสำเร็จของการจัดการความรู้หน่วยงานภาครัฐ จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างได้มาแบบเจอะจงจากส่วนราชการประจำจังหวัดปทุมธานี 26 แห่ง จำนวน 26 คน ที่ได้ดำเนินการจัดการความรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์

 

                    ผลการวิจัยพบว่า สภาพการจัดการความรู้ของส่วนราชการประจำจังหวัดปทุมธานี  มีการดำเนินงานการจัดการความรู้ใช้กระบวนการตามขั้นตอน 7 ขั้นตอนของสำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) เป็นหลักในการดำเนินการโดยมีรายละเอียดดังนี้ (1) การบ่งชี้ความรู้ (2) การสร้างและแสวงหาความรู้ ซึ่งได้แก่ การสร้างความรู้ การถ่ายโอนความรู้ การรวบรวมความรู้ (3) การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ (4) การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ (5) การเข้าถึงความรู้ (6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้และ (7) การเรียนรู้ ปัจจัยความพร้อมในการจัดการความรู้ของส่วนราชการประจำจังหวัดปทุมธานี ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยความพร้อมประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ด้าน ดังนี้ (1) ด้านองค์กร (2) ด้านกระบวนการ (3) ด้านเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐาน และ (4) ด้านการขับเคลื่อนหรือกลยุทธ์ ปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินการจัดการความรู้ของส่วนราชการประจำจังหวัดปทุมธานีมีทั้งหมด 13 เรื่อง สำหรับรูปแบบการเตรียมปัจจัยความพร้อมในการจัดการความรู้ทั้ง 4 ด้าน ตามลำดับก่อนหลังผลการวิจัยพบว่า หน่วยงานควรเตรียมปัจจัยความพร้อมด้านองค์กรเป็นลำดับแรก รองลงมาคือ การเตรียมปัจจัยความพร้อมด้านกระบวนการ การเตรียมปัจจัยความพร้อมด้านเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานและการเตรียมปัจจัยความพร้อมด้านการขับเคลื่อนหรือกลยุทธ์ เป็นลำดับสุดท้าย

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-08-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย