รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก

ผู้แต่ง

  • สุนันทา โกธา นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

การบริหารการเปลี่ยนแปลง, การบริหารการเปลี่ยนแปลงสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและทดสอบการใช้รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่าง เป็นสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก จำนวน 370 โรงเรียนได้มาด้วยวิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น และสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับ จำนวน 7 โรงเรียน ได้มาแบบเจาะจง ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 กลุ่ม จำนวน 14 คน สถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กที่ทดลองใช้รูปแบบ จำนวน 1 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และ การทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า  รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก มีส่วนประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ (1) ส่วนนำ ประกอบด้วย หลักการ เหตุผล วัตถุประสงค์ เงื่อนไข ข้อจำกัด แนวคิด หลักการ และข้อมูลที่นำมาใช้ในการออกแบบรูปแบบ (2) กระบวนการการบริหารการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย ขั้นการเตรียมการเปลี่ยนแปลง ขั้นการจัดการการเปลี่ยนแปลง ขั้นการเสริมแรงการเปลี่ยนแปลง เป็นกระบวนการดำเนินการ ส่วนการกำหนดคุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษา การนำรูปแบบไปใช้ มีจำนวน 7 ขั้น (3) ผลการทดสอบด้วยการทดลองใช้รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กในสถานการณ์จริง พบว่า การดำเนินการตามรูปแบบทำให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กมีประสิทธิผลสูงขึ้น  การดำเนินงานของสถานศึกษาเป็นระบบ นักเรียนได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และผลการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับความสำเร็จของสถานศึกษา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-08-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย