การลดของเสียที่เกิดจากกระบวนการประกอบสปินเดิลมอเตอร์โดยการประยุกต์ใช้วิธีการซิกซ์ ซิกมา

ผู้แต่ง

  • นิศากร สมสุข อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • พงษ์ธิวา พงษ์พานิช อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • สารินี เลื่อนลอย อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • นิติพัฒน์ ตาลเพชร อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

ซิกซ์ ซิกมา, กระบวนการประกอบสปินเดิลมอเตอร์, FMEA

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ประยุกต์แนวคิดของซิกซ์ ซิกมา เพื่อลดปริมาณของเสียในกระบวนการประกอบสปินเดิลมอเตอร์ ของฮาร์ดดิสก์ขนาด 2.5 นิ้วที่ใช้กับแล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ จากข้อมูลที่ผ่านมาพบว่า กระบวนการผลิตก่อนการปรับปรุงมีปริมาณของเสียเท่ากับ 6,294.36 ชิ้นในหนึ่งล้านชิ้นของการผลิต (DPPM) และกระบวนการผลิตมีค่า Cpk เท่ากับ 1.03 งานวิจัยเริ่มต้นจากการศึกษากระบวนการผลิต ทำการประเมินความสามารถของระบบการวัด จัดตั้งทีมงานดำเนินโครงการซิกซ์ ซิกมา เพื่อทำการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาโดยแผนภาพแสดงเหตุและผล หาความรุนแรงของปัญหาด้วยการวิเคราะห์อาการขัดข้องและผลกระทบ (FMEA)ต่อคุณภาพที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ทำการปรับปรุงเพื่อลดของเสียที่เกิดจากสาเหตุที่มีค่า RPN สูงสุด 5 สาเหตุแรก และจัดทำมาตรการควบคุมและป้องกันปัญหา  โดยปัญหาที่พบในกระบวนการผลิตคือความสูงของปีก Hub ไม่ได้ตามข้อกำหนดเฉพาะ ผลจากการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหา คือ ความเร็วในการกด Hub และแรงที่ใช้ในการกด Hub ในการปรับปรุงกระบวนการด้วยการออกแบบการทดลองแบบ 2 ปัจจัยเพื่อการปรับตั้งค่าความเร็วและแรงในการกด Hub ที่เหมาะสม หลังการปรับปรุงมีปริมาณของเสียลดลงเป็น 3,542 ชิ้นในหนึ่งล้านชิ้นของการผลิต และกระบวนการผลิตมีค่า Cpk เพิ่มขึ้นเป็น1.97

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-08-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย