การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในทัศนะของบุคลากร สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • เบญจพร พึงไชย นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

องค์การแห่งการเรียนรู้, สถาบันอุดมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในทัศนะของบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยในปัจจุบัน (2) เปรียบเทียบระดับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในทัศนะของบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาจำแนกตามปัจจัยภูมิหลัง ได้แก่ เพศ  อายุ ระดับการศึกษา ลักษณะงานที่ทำในปัจจุบัน ตำแหน่งทางวิชาการ ประสบการณ์ทำงาน ประเภทมหาวิทยาลัย/สถาบันที่สังกัด (3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในทัศนะของบุคลากร สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย (4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในทัศนะของบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย

ประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ บุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย 107 สถาบัน เก็บข้อมูลจากบุคลากรระดับผู้อำนวยการสำนัก รองผู้อำนวยการสำนัก อาจารย์ และเจ้าหน้าที่จำนวน 479 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน  

ผลการศึกษาพบว่า การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในทัศนะของบุคลากรสถาบัน อุดมศึกษาในประเทศไทยในภาพรวมทั้ง 5 ด้านได้แก่ ด้านการเรียนรู้ ด้านองค์การ ด้านบุคคล ด้านการจัดการความรู้และด้านการจัดการเทคโนโลยี อยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านภูมิหลัง ที่มีความสัมพันธ์กับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ได้แก่ อายุ และลักษณะงานที่ทำในปัจจุบัน หลักที่ส่งผลกระทบต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในทัศนะของบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ได้แก่ ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การ บรรยากาศองค์การ พันธกิจและยุทธศาสตร์องค์การ  แรงจูงใจ และการดำเนินงานบริหารจัดการ แนวทางการพัฒนาการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในทัศนะของบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยจากการสัมภาษณ์พบว่า ควรพัฒนาที่สาเหตุซึ่งเป็นปัจจัยหลัก 8 ประการ ได้แก่ ภาวะผู้นำ นโยบายองค์การ พันธกิจและยุทธศาสตร์องค์การการดำเนินงานบริหารจัดการ การบริหารทีมงาน แรงจูงใจ วัฒนธรรมองค์การและบรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และปัจจัยอื่น ๆ ด้วย ได้แก่ (1) การบริหารจัดการความรู้โดยใช้ทีมบริหาร  (2) การกำหนดกลยุทธ์ของสถาบัน อุดมศึกษาในเชิงปฏิบัติ (3) การพัฒนาทรัพยากรบุคคล  (4) การติดต่อสื่อสารและแบ่งปันข้อมูล (5) การประเมินผลการปฏิบัติ งานอย่างต่อเนื่องโดยการติดตามและรายงาน (6) การบริหารหลักสูตรและการสอน (7) การสร้างนวัตกรรม และ (8) การจัดทำสมรรถนะหลัก

ดังนั้นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในทัศนะของบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาที่พบจากการวิเคราะห์ข้อมูล  สามารถสร้างรูปแบบสมการทำนาย ในการศึกษาครั้งนี้ ชื่อว่า รูปแบบ CEMMOM Model

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-08-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย