การพัฒนารูปแบบการบริหารการฝึกอบรมเพื่อความมั่นคงของมนุษย์

ผู้แต่ง

  • ขนิษฐา บูรณพันศักดิ์ ตรีรมณ์ นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหารการฝึกอบรม, การฝึกอบรมเพื่อความมั่นคงของมนุษย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารการฝึกอบรมเพื่อความมั่นคงของมนุษย์ (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารการฝึกอบรมเพื่อความมั่นคงของมนุษย์ และ (3) เพื่อประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารการฝึกอบรมเพื่อความมั่นคงของมนุษย์ กลุ่มประชากร คือ ผู้บริหารของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงมหาดไทย และองค์การภาคเอกชน จำนวน 1, 232 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิและสุ่มอย่างง่ายได้  กลุ่มตัวอย่างจำนวน 338 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิธีดำเนินการวิจัยใช้การวิเคราะห์ และสังเคราะห์เอกสาร  ส่วนการพัฒนารูปแบบการบริหารการฝึกอบรมเพื่อความมั่นคงของมนุษย์  ใช้แบบสอบถามเดลฟาย พิจารณาใช้ผลฉันทามติ ของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ  ประเมินรูปแบบโดยการจัดประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และการพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารการฝึกอบรมเพื่อความมั่นคงของมนุษย์ โดยการประชุมระดมสมอง และดำเนินการประชุมกลุ่มแบบเฉพาะเจาะจง ผลการศึกษาปรากฏ ดังนี้

1.  สภาพการบริหารการฝึกอบรมเพื่อความมั่นคงของมนุษย์ ประกอบด้วย ปัจจัย 4 ด้านดังนี้ (1) การจัดเตรียมสภาพแวดล้อมของการฝึกอบรมเพื่อความมั่นคงของมนุษย์ ได้แก่ การจัดเตรียมสภาพแวดล้อมทั้งสถานที่ บรรยากาศ กลิ่น เสียง มีการจัดการอยู่ในระดับปานกลาง (2) ด้านโครงสร้างของการฝึกอบรมเพื่อความมั่นคงของมนุษย์ ได้แก่ การวางแผนการจัดการฝึกอบรม การเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม มีการจัดการอยู่ในระดับปานกลาง (3) กระบวนการและลักษณะของการจัดการทรัพยากรทางการบริหาร การฝึกอบรม

เพื่อความมั่นคงของมนุษย์ มีการจัดการในระดับปานกลาง (4) พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารการฝึกอบรม มีการจัดการอยู่ในระดับปานกลาง     

          2.  รูปแบบการบริหารการฝึกอบรมเพื่อความมั่นคงของมนุษย์ ได้รับการพัฒนามีองค์ประกอบของปัจจัยหลัก  4 ประเด็นคือ (1) การกำหนดโครงสร้างการฝึกอบรมเพื่อความมั่นคงของมนุษย์ (2) การจัดเตรียมสภาพแวดล้อมของการฝึกอบรมเพื่อความมั่นคงของมนุษย์ (3) พฤติกรรมการบริหารที่จำเป็นของผู้บริหารการฝึกอบรมเพื่อความมั่นคงของมนุษย์ (4) การกำหนดกระบวนการและลักษณะของการจัดทรัพยากรในการอบรม เพื่อความมั่นคงของมนุษย์

3.  การตรวจสอบรูปแบบการบริหารการฝึกอบรมเพื่อความมั่นคงของมนุษย์ที่พัฒนาขึ้น โดยการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย ปัจจัยการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมการฝึกอบรมเพื่อความมั่นคงของมนุษย์   ปัจจัยการกำหนดโครงสร้างการฝึกอบรมเพื่อความมั่นคงของมนุษย์   ปัจจัยด้านพฤติกรรมการบริหารที่จำเป็นของผู้บริหารการฝึกอบรมเพื่อความมั่นคงของมนุษย์ และปัจจัยการกำหนดกระบวนการและลักษณะของการจัดทรัพยากร เนื้อหามีความครอบคลุมมิติทุกด้านของความมั่นคงของมนุษย์  ปัจจัยต่าง ๆ มีความสัมพันธ์สอดคล้องซึ่งกันและกัน โครงสร้างของปัจจัยการฝึกอบรมสอดคล้องกับแนวทางการบริหารการฝึกอบรมและสามารถบรรลุถึงประสิทธิผล มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในระดับสูงมากที่สุด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-08-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย