รูปแบบการพัฒนาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • พิมพ์มาส รังสรรค์สฤษดิ์ นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

องค์การแห่งการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (3) เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้คือ ผู้บริหารและครู โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  จำนวน  244  โรง  เพื่อให้ข้อมูลสภาพปัจจุบันความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ในปัจจุบัน ผู้บริหารและครู โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่  ที่มีความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในปัจจุบันอยู่ในระดับมาก ลำดับที่ 1 ถึง 30  โรง ตามเกณฑ์ของ Best  โดยเป็นผู้บริหารลำดับที่ 1  ถึง 15  และครูลำดับที่  16  ถึง 30 เพื่อให้ข้อมูลในการร่างรูปแบบ  ผู้เชี่ยวชาญด้านองค์การแห่งการเรียนรู้  จำนวน  10  คน เพื่อให้ข้อมูลในการพัฒนารูปแบบ และผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่  สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทุกเขตพื้นที่การศึกษา  รวม  185  โรง  เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมและเป็นไปได้   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือชุดที่ 1 เป็นแบบสอบถามเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ มีค่าความเชื่อมั่น 0.879 เครื่องมือชุดที่ 2  เป็นประเด็นคำถามประกอบการอภิปรายโดยใช้เทคนิคสนทนากลุ่ม เครื่องมือชุดที่ 3 เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และเครื่องมือชุดที่ 4 เป็นแบบสอบถามเพื่อตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าความเชื่อมั่น 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t (t-test) หาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม และสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า

                1.  สภาพความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก

                2.  รูปแบบการพัฒนาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีองค์ประกอบ 7 ขั้น คือ กำหนดวิสัยทัศน์ให้สถานศึกษาเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ กำหนดกลยุทธ์ในการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ กำหนดแผนงานที่ชัดเจน จัดกิจกรรมสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ สร้างวัฒนธรรม ยอมรับการเปลี่ยนแปลง และปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง นิเทศติดตามและเผยแพร่ผลการดำเนินงาน และชื่นชมความสำเร็จร่วมกันทั้งองค์การ

                3. ความเหมาะสมและเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน   ผู้บริหารโรงเรียนและครูมีความคิดเห็นว่า  รูปแบบการพัฒนาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีความเหมาะสมและเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด  และรูปแบบการพัฒนาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง  กับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ทั้ง  12  ด้าน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-08-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย