ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน การพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • นคร มูลงาม นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพการพัฒนาท้องถิ่น, องค์การบริหารส่วนตำบลในประเทศไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน การพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล (2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการดำเนินงานการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลจำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา และอาชีพหลัก (3) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงาน การพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล (4) สร้างสมการ อธิบายความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลว่ามีความสัมพันธ์มาก หรือน้อย (5) อธิบายเส้นทางความสัมพันธ์ของปัจจัยทางตรง และปัจจัยทางอ้อม ในแต่ละกรอบปัจจัย ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลในประเทศไทย

เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ในประเทศไทย จำนวน 378 อบต. สุ่มจาก อบต.ทั่วประเทศจำนวน 6,157 อบต. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุส่งผลกระทบ และค่าวิเคราะห์อิทธิพลเส้นทางความสัมพันธ์

ผลการศึกษาพบว่า ระดับประสิทธิภาพในการดำเนินงาน การพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลในประเทศไทยในภาพรวมทั้ง 7 ด้านอยู่ในระดับประสิทธิภาพมาก (=4.04) และพบว่า ปัจจัยด้านภูมิหลัง ปัจจัยด้านภายในองค์กรด้านการบริหาร ปัจจัยภายนอกองค์กร และปัจจัยทางคุณลักษณะของผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล

จากการวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์พบว่าปัจจัยทางภาวะผู้นำส่งผลกระทบทางตรงต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานการพัฒนาท้องถิ่นมากที่สุด แต่ไม่มีผลกระทบทางอ้อมส่วนปัจจัย ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นพบว่ามีผลกระทบทางอ้อมต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานการพัฒนาท้องถิ่นมากที่สุด แต่ไม่มีผลกระทบทางตรง

 ดังนั้นปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานการพัฒนาท้องถิ่นที่พบจากการวิเคราะห์ข้อมูล สามารถสร้างรูปแบบสมการทำนาย ในการศึกษาครั้งนี้ได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-08-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย