มาตรฐานการขนส่งโดยรางกับการบริหารระบบการขนส่งภาคมหาชนในภาคใต้

ผู้แต่ง

  • ศิรินัดดา พานิชพงศ์ นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

ระบบการขนส่งโดยราง, การบริหารระบบการขนส่ง, การบริหารทรัพยากรบุคคลด้านโลจิสติกส์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความคิดเห็นของพนักงานในองค์การขนส่งภาคมหาชนที่มีต่อ (1) มาตรฐานการขนส่งโดยรางในด้านความรับผิดชอบด้านการบริการขนส่ง ความเรียบง่ายในการขนส่ง ความยืดหยุ่นในการขนส่ง ความประหยัด ความยั่งยืน และแนวทางการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์  (2) การบริหารระบบการขนส่งภาคมหาชน ในด้านภาวะผู้นำระบบโลจิสติกส์ กลยุทธ์การจัดการโซ่อุปทาน ยุทธศาสตร์การแข่งขัน

โลจิสติกส์ การบริหารทรัพยากรบุคคลด้านโลจิสติกส์ และการบริหารระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โลจิสติกส์ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมาตรฐานการขนส่งโดยราง ทั้ง 6 ด้าน กับการบริหารระบบการขนส่งภาคมหาชน ทั้ง 5 ด้าน โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,782  คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างมีสัดส่วนจากประชากรจำนวน 6,201 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาหาค่าความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสหสัมพันธ์คาโนนิคอล 

                ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของพนักงานในองค์การขนส่งภาคมหาชนที่มีต่อ  (1) มาตรฐานการขนส่งโดยราง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีแนวทางการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์เป็นลำดับแรก รองลงมาคือ ความประหยัด ความยั่งยืน ความยืดหยุ่นในการขนส่ง ความสามารถในการตอบสนองความต้องการ และความเรียบง่ายในการขนส่ง ตามลำดับ (2) การบริหารระบบการขนส่งภาคมหาชนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  ซึ่งมีการบริหารเทคโนโลยีโลจิสติกส์ เป็นลำดับแรก รองลงมาคือ ภาวะผู้นำโลจิสติกส์ การบริหารทรัพยากรบุคคลด้าน

โลจิสติกส์  กลยุทธ์การจัดการโซ่อุปทานและยุทธศาสตร์การแข่งขันแบบโลจิสติกส์ตามลำดับ (3) ตัวแปรอิสระในมาตรฐานการขนส่งโดยรางมีความสัมพันธ์ต่อการบริหารระบบการขนส่งภาคมหาชนทั้ง 5 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-08-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย