การพัฒนาระบบการขนส่ง: ศึกษาเฉพาะกรณีระบบการขนส่งทางรถไฟของประเทศตามแผนยุทธศาสตร์กระทรวงคมนาคม

ผู้แต่ง

  • ภวัต ตั้งตรงจิตร นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

การรถไฟแห่งประเทศไทย, ระบบการขนส่งทางรถไฟ, การพัฒนาการขนส่งทางรถไฟ

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการของการรถไฟแห่งประเทศไทย ถึง (1) สภาวการณ์ด้านการขนส่งของการรถไฟฯ และการพัฒนาระบบขนส่งทางรถไฟ  (2) การพัฒนาระบบขนส่งทางรถไฟภายในประเทศให้มีการพัฒนาแบบองค์รวม  (3) รูปแบบเชื่อมโยงระบบการขนส่งของประเทศ กับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อให้บริการด้านการขนส่งที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ มีต้นทุนที่เหมาะสม กลุ่มตัวอย่าง มีจำนวนทั้งสิ้น 719 คน สุ่มอย่างมีสัดส่วนจากประชากร 1,805 คน  ประกอบด้วย พนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย บริษัทขนส่งสินค้า และบริษัทท่องเที่ยวทางรถไฟ ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับกลาง และผู้ปฏิบัติงาน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล  คือ สถิติเชิงพรรณนาเพื่อแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน คือ สหสัมพันธ์คาโนนิคอล ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อทดสอบสมมติฐานหาความสัมพันธ์ระหว่างการขนส่งโดยรถไฟ กับการพัฒนาระบบการขนส่งทางรถไฟ ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าการรถไฟฯ มีการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการขนส่งอยู่ในระดับมาก โดยมีการปฏิบัติงานด้านการกำหนดเส้นทางเดินรถมากที่สุด รองลงมา และมีการพัฒนาระบบการขนส่งทางรถไฟในระดับมาก (2) การพัฒนาระบบขนส่งภายในประเทศที่เหมาะสม คือ การพัฒนาเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟกับระบบคมนาคมอื่น ๆ และรูปแบบการพัฒนาเชื่อมโยงระบบการขนส่งของประเทศกับประเทศเพื่อนบ้านที่เหมาะสม คือ การเชื่อมต่อการขนส่งกับสหภาพพม่า และเวียดนาม  (3) การขนส่งของการรถไฟฯ ด้านการขนส่งสินค้า การขนส่งผู้โดยสาร และการกำหนดเส้นทางมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาระบบขนส่งทางรถไฟด้านการพัฒนาเชื่อมต่อฐานการผลิต การพัฒนาเทคโนโลยีบริการ การพัฒนาสถานีรถไฟ การเชื่อมต่อระบบคมนาคมอื่น ๆ และการเชื่อมต่อระบบการขนส่ง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-08-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย