ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการจัดการลุ่มน้ำแม่กลอง

ผู้แต่ง

  • พรศักดิ์ จีระสุวรรณ นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีอิทธิพล, ประสิทธิผลของการจัดการลุ่มน้ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ เป็นการศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ กับกลุ่มประชาชนซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียและได้รับผลกระทบโดยตรงจากการจัดการลุ่มน้ำแม่กลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับประสิทธิผลในการจัดการลุ่มน้ำแม่กลอง (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการจัดการลุ่มน้ำแม่กลอง  โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 ตัวอย่าง ซึ่งสุ่มจากกลุ่ม ข้าราชการพนักงานราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ในลุ่มน้ำแม่กลองที่เกี่ยวข้องกับด้านการจัดการภาครัฐ จำนวน 400 คนได้รับแบบสอบถามกลับมา 190 แบบสอบถาม คิดเป็นร้อยละ 95 และเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ตัวอย่าง โดยสุ่มจากประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ศึกษาในฐานะผู้มีส่วนได้เสียและได้รับผลกระทบโดยตรงจากการจัดการลุ่มน้ำแม่กลองจำนวนประมาณ 1,626,905 คน  ได้รับแบบสอบถาม กลับ มาจำนวน 388 แบบสอบถาม คิดเป็นร้อยละ 97  สำหรับการคำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างข้างต้น ใช้สูตรของ Yamane  มีระดับการให้คะแนนตามวิธีการของ Likert 5 ระดับ นอกจากนี้ได้ส่งแบบสอบถาม จำนวน 50 ตัวอย่าง ให้คณะกรรมการลุ่มน้ำแม่กลองทุกคน ประมาณ 50 คน ได้รับแบบสอบถามตอบกลับมาทั้งหมด 34 ตัวอย่างหรือร้อยละ 68 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา หาลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้การแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐาน  สถิติเชิงอนุมานใช้ในการวิเคราะห์เพื่อทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามว่าตัวแปรใดมีผลต่อประสิทธิผลในการจัดการลุ่มน้ำแม่กลอง โดยใช้การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (correlation analysis) และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ (multiple regression  analysis)                                                

ผลการวิจัยพบว่า ระดับประสิทธิผลของการจัดการลุ่มน้ำแม่กลองโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง ด้วยระดับคะแนนเฉลี่ย 2.98 โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.45 กลุ่มข้าราชการ พนักงานราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจให้ระดับคะแนนเฉลี่ย 2.90 คะแนน และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.43 สำหรับกลุ่มของประชาชนทั่วไป เห็นว่าระดับประสิทธิผลมีระดับคะแนนเฉลี่ย 3.05 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.45 ซึ่งจัดเป็นระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมเห็นว่าเรื่องของการจัดสรรน้ำและการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในการใช้น้ำของชุมชนเป็นตัวแปรหลักๆ ที่มีผลต่อระดับประสิทธิผลของการจัดการลุ่มน้ำแม่กลอง

จากการวิเคราะห์โดยสมการถดถอยพหุคูณ เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการจัดการภาครัฐและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียมีอิทธิพลต่อระดับประสิทธิผลการจัดการน้ำในลุ่มน้ำแม่กลองหรือไม่  ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยด้านการจัดการภาครัฐ 4 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยการจัดองค์กร การบริหารงบประมาณ การวางแผน และการรายงานและปัจจัยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย 4 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยการร่วมดำเนิน การร่วมวางแผน การร่วมประเมินผลและการร่วมรับผลประโยชน์มีอิทธิพลต่อระดับประสิทธิผลของการจัดการลุ่มน้ำแม่กลอง มากไปน้อยตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับระดับความสำเร็จในการจัดการลุ่มน้ำแม่กลอง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-08-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย