การบริหารคุณภาพการท่าอากาศยานระหว่างประเทศตามแผนยุทธศาสตร์ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • รัธพร สุวรรณผ่องใส นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

การท่าอากาศยาน, ยุทธศาสตร์, การบริหารคุณภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การบริหารคุณภาพการท่าอากาศยานระหว่างประเทศตามแผนยุทธศาสตร์ในประเทศไทย (2)  ความสัมพันธ์ระหว่างยุทธศาสตร์การท่าอากาศยานในด้านยุทธศาสตร์ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน   การเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศ ยุทธศาสตร์การเงินและการลงทุน ยุทธศาสตร์การตลาด ยุทธศาสตร์การบริการ  ยุทธศาสตร์การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ถือหุ้น และยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศท่าอากาศยาน  กับการบริหารคุณภาพการท่าอากาศยานในด้านการนำองค์กร การมุ่งเน้นการตลาด การวัดการวิเคราะห์  การพัฒนาทรัพยากรบุคคล  การจัดการกระบวนการและผลลัพธ์ทางธุรกิจ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,576 คนได้มาจากการสุ่มแบบมีสัดส่วนจากประชากรในองค์การท่าอากาศยาน ทั้ง 5 แห่ง จำนวน 4,263 คน ประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับกลาง และผู้ปฏิบัติงาน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาโดยใช้การแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน คือ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล (Canonical Correlation Analysis) ใช้ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม  สมมติฐานทั้ง 6 สมมติฐาน มีความสัมพันธ์ต่อการบริหารคุณภาพการท่าอากาศยาน ทั้ง 6 ตัวแปร คือ การนำองค์การ การมุ่งเน้นการตลาด การวัดการวิเคราะห์ การพัฒนาทรัพยากรบุคคล การจัดกระบวนการ และผลลัพธ์ทางธุรกิจ ผลการวิจัยพบว่า พนักงานการท่าอากาศยานมีความเห็นว่ายุทธศาสตร์การท่าอากาศยานมีการดำเนินการใน 2 ระดับ คือ (1) ระดับมีแนวทางการปฏิบัติที่ดี ได้แก่ ยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน และการเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศ   ยุทธศาสตร์การเงินและการลงทุนและยุทธศาสตร์การบริการ (2) ระดับที่มีการปฏิบัติตามแผนแต่ยังคงต้องปรับปรุง ได้แก่ ยุทธศาสตร์การตลาด ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศท่าอากาศยาน ยุทธศาสตร์การเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ถือหุ้น  ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างยุทธศาสตร์การท่าอากาศยานกับการบริหารคุณภาพการท่าอากาศยาน มีความสัมพันธ์ 3 ระดับ คือ ระดับสูง ระดับกลาง และระดับต่ำ ระดับสูงในด้านการวางแผนและการจัดการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ ระดับกลางในด้านการจัดกระบวนการขององค์การ และระดับต่ำเทคโนโลยีสารสนเทศแผนการจัดการระบบโลจิสติกส์ และการพัฒนาทรัพยากรบุคคล การจัดกระบวนการผลลัพธ์ทางธุรกิจ ส่วนการบริหารคุณภาพ การวัดการวิเคราะห์ และการมุ่งเน้นการตลาดน้อยกว่าด้านอื่นๆ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-08-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย