การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรียสำหรับพื้นที่ชายแดน ไทย-พม่า

ผู้แต่ง

  • Kukiet Konkaew นิสิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิตมหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

โรคมาลาเรีย, การป้องกันและควบคุมโรค, ฐานชุมชน, ชายแดนไทย-พม่า

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรียในพื้นที่ชายแดน ไทย-พม่า โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน กรณีศึกษาตำบลท่าสองยาง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก แบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1) ค้นหาสาเหตุของปัญหาโรคมาลาเรีย การมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคมาลาเรีย ยกร่างรูปแบบการป้องกัน และยืนยันรูปแบบ 2) นำรูปแบบไปทดลองใช้ที่หมู่ 2 บ้านแม่ตื่น ตำบลท่าสองยาง3) ประเมินผลรูปแบบ และ 4) สะท้อนผลรูปแบบ  

ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรียในพื้นที่ชายแดน ไทย-พม่าที่มีความเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ ประกอบด้วย 12 กิจกรรมจำแนกตามระดับความสัมพันธ์ทางสังคมได้ดังนี้  1) ระดับบุคคลมิ 1 กิจกรรม  ได้แก่ ป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัด   2) ระดับครอบครัวมี 4 กิจกรรม ได้แก่ ทำความสะอาดบ้าน ดูแลมุ้ง ยินยอมให้พ่นสารเคมีตกค้าง และปลูกตะไคร้หอม  และ 3) ระดับชุมชนมี 7 กิจกรรม ได้แก่ อบรมให้ความรู้  แจกคู่มือ  เปิดเสียงตามสายด้วยสื่อภาษาถิ่น(ปกากะญอ) แจกต้นพันธุ์ตะไคร้หอม  ส่งเสริมการใช้ตะไคร้หอม กำหนดมาตรการชุมชน และเฝ้าระวังพฤติกรรมการป้องกันโรคมาลาเรียโดย อสม. ภายหลังนำรูปแบบไปทดลองใช้พบว่าประชาชนในพื้นที่มีความรู้เพิ่มมากขึ้น มีทัศนคติที่ดีต่อการปลูกตะไคร้หอมไล่ยุง  มีการปลูกและนำตะไคร้หอมมาใช้ในการป้องกันยุง และนอนในมุ้งมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคมาลาเรียลดลง ร้อยละ 84.4 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-12-11

ฉบับ

บท

บทความวิจัย