ผลการใช้ศูนย์เรียนรู้การอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านโนนหินผึ้ง ตำบลดงบัง อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี

ผู้แต่ง

  • Pomhom Chertgrota นักศึกษาหลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

ศูนย์เรียนรู้, การอนุรักษ์ป่าชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งเป็นการวิจัยแบบผสมผสานมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทป่าชุมชนบ้านโนนหินผึ้ง ตำบลดงบัง อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ เจตคติและการปฏิบัติ   ของเยาวชนหลังการใช้ศูนย์เรียนรู้การอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านโนนหินผึ้งกับระดับชั้นที่เรียนของเยาวชน 3) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ เจตคติและการปฏิบัติในการอนุรักษ์ป่าชุมชนของเยาวชน ก่อนและหลัง  การใช้ศูนย์เรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัย  มีดังนี้ 1) กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาบริบทชุมชน ได้แก่ ผู้นำชุมชน คณะกรรมการป่าชุมชน นายกและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ครู และปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 20 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 2) กลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้ศูนย์เรียนรู้ป่าไม้ชุมชน เป็นเยาวชนในโรงเรียนบ้านโนน จำนวน 63 คน ได้จากวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบทดสอบวัดความรู้ วัดเจตคติและวัดการปฏิบัติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และค่าเอฟ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีอุปนัย ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ชุมชนบ้านโนนเป็นชุมชนเก่าแก่ประมาณปี พ.ศ. 2380 ตั้งชุมชนอาศัยอยู่บริเวณรอบป่าชุมชนบ้านโนนหินผึ้งต่อมาเกิดปัญหาการบุกรุกป่าจากบุคคลในและนอกพื้นที่  ด้วยพลัง ความสามัคคีและพลังเครือข่ายชุมชนที่เข้มแข็งช่วยกันหยุดยั้งการบุรุกป่าจึงทำให้วันนี้ป่าที่เสื่อมโทรมกลับมาฟื้นฟูอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง  2) เยาวชนที่มีระดับการศึกษาที่ต่างกันหลัง   การเข้าใช้ศูนย์เรียนรู้ มีความรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 แต่มีเจตคติและการปฏิบัติเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าชุมชน ไม่แตกต่างกัน 3) เยาวชนมีความรู้ เจตคติและการปฏิบัติหลังการใช้ศูนย์สูงกว่าก่อนการใช้ศูนย์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-04-19

ฉบับ

บท

บทความวิจัย