ผลการใช้รูปแบบการจัดการพลังงานไฟฟ้าโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของบริษัท โอกาโมโตเท็กซ์ไทล์ (ประเทศไทย) จำกัด ในสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ กบินทร์บุรี ปราจีนบุรี

ผู้แต่ง

  • Leing Makpoon นักศึกษาหลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

ผลการใช้, การจัดการพลังงานไฟฟ้า, กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าของบริษัทโอกาโมโตเท็กซ์ไทล์ (ประเทศไทย) จำกัด 2) เปรียบเทียบความรู้ เจตคติและพฤติกรรมในการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าของพนักงานบริษัท ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการพลังงานไฟฟ้า 3) ใช้รูปแบบการจัดการพลังงานไฟฟ้าในการค้นหามาตรการในการลดการใช้พลังงานไฟฟ้า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นผู้รับผิดชอบ ด้านพลังงานและผู้บริหารด้านพลังงานของบริษัท จำนวน 16 คน สำหรับการสำรวจการใช้ปริมาณไฟฟ้า และเป็นพนักงานบริษัท จำนวน 70 คน สำหรับการทดลองใช้รูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสำรวจปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า 2) แบบสอบถามความรู้ เจตคติและพฤติกรรมในการลดการใช้พลังงานไฟฟ้า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีและค่าเอฟ ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) โรงงานของบริษัท โอกาโมโตเท็กซ์ไทล์ (ประเทศไทย) จำกัด มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยต่อเดือน 2,038,883 กิโลวัตต์ คิดเป็น 6,585,592 บาท ต่อเดือน 2) หลังการใช้รูปแบบพนักงานบริษัทมีความรู้ เจตคติและพฤติกรรมในการชีไฟฟ้าสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) มาตรการในการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ได้หลังการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมจากรูปแบบการจัดการพลังงานไฟฟ้า คือ มาตรการที่ 1 การติดตั้งม่านพลาสติกใสกั้นระหว่างที่ใช้งานกับส่วนที่ไม่ได้ใช้งาน มาตรการที่ 2 การเปลี่ยนบัลลาสต์แกนเหล็กเป็นแกนเหล็กโลว์ลอสในหลอดไฟฟ้าให้แสงสว่าง มาตรการที่ 3 การใช้น้ำระบายความร้อนเครื่องปรับอากาศแลลแยกส่วน และพบว่ามีปริมาณการใช้ไฟฟ้าหลังดำเนินการตามมาตรการลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 22.03 ต่อเดือน 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-04-19

ฉบับ

บท

บทความวิจัย