การศึกษาวัสดุทดแทนในการสร้างตัวแปลงแม่พิมพ์ขนาดกลาง ในขอบเขตของการต้านความล้าและความเสียดทาน

ผู้แต่ง

  • Tri Kharanan อาจารย์ประจำ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ความล้า, นิกเกิล, แม่พิมพ์, การชุบ

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยฉบับนี้ กล่าวถึงการศึกษาพฤติกรรมทางกลของวัสดุเหล็กเหนียว ที่ชุบนิกเกิลแบบไม่ใช้ไฟฟ้า ซึ่งเป็นเหล็กที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย ในงานวิจัยนี้มุ่งเน้นไปที่การศึกษาเพื่อหาวัสดุทดแทนที่มีราคาถูกและมีผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศมาทำการชุบด้วยนิกเกิลแบบไม่ใช้ไฟฟ้าและนำมาทดสอบพฤติกรรมการต้านความล้าและความเสียดทาน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบตัวแปลงแม่พิมพ์ขนาดกลางจนถึงใหญ่ หรือโครงสร้างอื่นๆของเครื่องจักรกลที่ต้องการนำไปใช้เพื่อให้มีอายุการทำงานที่ยาวนาน การทดสอบนี้ได้นำวัสดุเหล็กที่ชุบนิกเกิลแล้วที่มีขนาดต่างๆกัน 5 ความหนา โดยมีความหนาตั้งแต่ 10 , 20 , 30 , 40 และ 50 µm เป็นต้น โดยเริ่มทดสอบตั้งแต่รอบการทำงานต่ำตั้งแต่รอบที่ หนึ่งพันรอบจนถึงอายุการทำงานที่เกินล้านรอบ พบว่าแนวโน้มของชิ้นงาน มีอายุการใช้งานที่รอบสูงขึ้นโดยมีรอบการทำงานต่ำสุดเมื่อชุบที่ความหนา 10 µm ในภาะระ 31.20 กิโลกรัมที่ 1,053 รอบและสูงสุดคือไม่แตกหักในภาระ 6 กิโลกรัม โดยที่ผิวยังไม่แตกลายงา ที่การชุบหนาสุด 50 µm ภาระ 31.20 กิโลกรัม สามารถทำงานได้ที่ 1637 รอบ โดยที่ผิวมีรอยแตกลายงาเล็กน้อยส่วนภาระที่ 6 กิโลกรัม วัสดุไม่มีการแตกหัก 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-04-19

ฉบับ

บท

บทความวิจัย