ความหลากชนิดของสัตว์เลื้อยคลานบริเวณสังคมพืชรอบอ่างเก็บน้ำคลองลำกง อำเภอหนองไผ่จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • Kan Khumsab Phetchabun Rajabhat University

คำสำคัญ:

ความหลากชนิด, ป่าเต็งรัง, ป่าทุ่งหญ้า, สัตว์เลื้อยคลาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการสำรวจและเปรียบเทียบชนิดสัตว์เลื้อยคลานในป่าในสังคมป่าบริเวณอ่างเก็บน้ำคลองลำกงอ.หนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ระหว่างเดือนเมษายนพ.ศ.2556 ถึงเดือนกรกฎาคมพ.ศ.2556  เก็บข้อมูลความหลากชนิดของสัตว์เลื้อยคลานประกอบด้วย 2 วิธีคือ (1) โดยวางแปลงขนาด 50 x 50 เมตรจำนวน 5 แปลง ต่อ 1 สังคมป่า ประกอบด้วยสังคมป่า 2 ประเภทได้แก่ สังคมป่าเต็งรัง และสังคมป่าทุ่งหญ้าสำรวจค้นหาตัวสัตว์โดยตรงโดยเดินสำรวจในเวลากลางวัน เดือนละ 2 วันในช่วงเวลากลางวัน (8.30 ถึง 16.00 น.) (2) การใช้หลุมกับดักสังคมป่าละ 5 จุดจากผลการศึกษา พบสัตว์เลื้อยคลานจำนวน 45ชนิดจาก 37สกุลใน 11 วงศ์ 2 อันดับโดยการแพร่กระจายของสัตว์เลื้อยคลานในสังคมป่าเต็งรัง พบ 45ชนิด จำนวน 352ตัวในขณะที่ในสังคมป่าทุ่งหญ้า พบ 26 ชนิด จำนวน 271 ตัว  ดัชนีความหลากหลาย (H) พบว่า ดัชนีความหลากหลายมีค่าสูงสุดในบริเวณป่าเต็งรัง ในเดือนกรกฎาคม 2556 มีค่าเท่ากับ 3.17 ซึ่งอยู่ในฤดูฝน   ค่าดัชนีความสม่ำเสมอ (E) พบว่าในสังคมป่า 2 ประเภท มีความสม่ำเสมอในการพบสัตว์เลื้อยคลานไม่แตกต่างกัน ดัชนีความคล้ายคลึงกันของสัตว์ในแต่ละสังคมป่ามีค่าสูงสุดในเดือนกรกฎาคม 2556 มีค่าเท่ากับ 73.68 เปอร์เซ็นต์การปรากฏหรือความชุกของสัตว์เลื้อยคลานแต่ละชนิดที่พบการปรากฏมากที่สุดคือ แย้ และเหี้ย กลุ่มสัตว์เลื้อยคลานที่พบได้ปานกลางคือกลุ่มของกิ้งก่า เต่า จิ้งจก จิ้งเหลนบางชนิด ในขณะที่กลุ่มของงูชนิดต่างๆ พบน้อยไปจนถึงปานกลาง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-08-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย