การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษยปัจจัยกับผลสัมฤทธิ์ทางการฝึกอบรม ควบคุมจราจรทางอากาศ

ผู้แต่ง

  • Donya Panprasit Eastern Asia University

คำสำคัญ:

มนุษยปัจจัย, ผลสัมฤทธิ์ทางการฝึกอบรม, การควบคุมจราจรทางอากาศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามนุษยปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการฝึกอบรมด้านการควบคุมจราจรทางอากาศ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษยปัจจัยกับผลสัมฤทธิ์ทางการฝึกอบรมด้านการควบคุมจราจรทางอากาศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี และนักศึกษาหลักสูตรฝึกอบรม สถาบันการบินพลเรือน โดยศึกษามนุษยปัจจัยทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ มนุษยปัจจัยส่วนบุคคล มนุษยปัจจัยด้านการเรียนรู้ และมนุษยปัจจัยด้านทักษะขั้นพื้นฐาน จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง สามารถระบุมนุษยปัจจัยเบื้องต้นจำนวน 14 ปัจจัย จากนั้นได้ประเมินความเหมาะสมของปัจจัยในบริบทของการฝึกอบรมทางด้านการควบคุมจราจรทางอากาศโดยใช้การสำรวจด้วยแบบสอบถามจากอาจารย์ผู้ฝึกอบรม สถาบันการบินพลเรือน จำนวน 11 คน ผลการประเมินพบว่า มีมนุษยปัจจัยจำนวน 8 ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการฝึกอบรมด้านการควบคุมจราจรทางอากาศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ความรู้ การฝึกปฏิบัติ เจตคติ การจัดการความล้า การจัดการความเครียด การตัดสินใจ การตระหนักรู้ต่อสถานการณ์ และการสื่อสาร จากนั้นจึงศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษยปัจจัยกับผลสัมฤทธิ์ทางการฝึกอบรมควบคุมจราจรทางอากาศ โดยใช้ผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรมและผลการประเมินตนเองด้านการเรียนรู้และด้านทักษะขั้นพื้นฐานของนักศึกษาผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 69 คน ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 พบว่ามีเพียงปัจจัยด้านความรู้ (K) และปัจจัยด้านการฝึกปฏิบัติ (P) ที่สามารถใช้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างมนุษยปัจจัยกับผลสัมฤทธิ์ทางการฝึกอบรมควบคุมจราจรทางอากาศได้ร้อยละ 25.90 (หรือ R2 = 0.259) ซึ่งสมการความสัมพันธ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ ZSCORE = 0.367K + 0.245P

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-08-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย