ผลการใช้เกณฑ์วัดสีเขียว: ความรู้ เจตคติและความพึงพอใจต่อเกณฑ์วัดสีเขียว

ผู้แต่ง

  • Praprasert Petchsom หลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

เกณฑ์วัดสีเขียว, ความรู้, เจตคติและความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจและเจตคติที่มีต่อเกณฑ์วัดสีเขียวของประชาชนที่เข้ารับความรู้ เรื่องเกณฑ์วัดสีเขียว แบ่งตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษาและระยะเวลาที่เข้าใช้วัดประกอบศาสนกิจ  2) ศึกษาความพึงพอใจของประชาชนต่อการใช้เกณฑ์วัดสีเขียว โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่เข้ารับความรู้เรื่องเกณฑ์วัดสีเขียว ที่วัดห้วยโป่ง อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางสุ่มของ เคร์จซี่และมอร์แกน ได้จำนวน 357 คน สุ่มตัวอย่างวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่  1) แบบสอบถามสอบถามความรู้และเจตคติเกี่ยวกับเกณฑ์วัดสีเขียว 2) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อเกณฑ์วัดสีเขียว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าที และค่าเอฟ ผลการวิจัย พบว่า 1) ความรู้ความเข้าใจของประชาชนที่เข้ารับความรู้ เรื่องเกณฑ์วัดสีเขียว ที่มี เพศและระดับการศึกษา ต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจต่อ   เกณฑ์วัดสีเขียว แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และประชาชนที่เข้ารับความรู้เรื่องเกณฑ์วัดสีเขียว ที่มี อายุและระยะเวลาที่เข้าใช้วัดประกอบศาสนกิจ ต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจต่อเกณฑ์วัดสีเขียวไม่แตกต่างกัน ส่วนเจตคติของประชาชนที่เข้ารับความรู้ เรื่องเกณฑ์วัดสีเขียว ที่มีเพศ และระยะเวลาที่เข้าใช้วัดประกอบศาสนกิจ ต่างกัน มีเจตคติต่อเกณฑ์วัดสีเขียว แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนประชาชนที่เข้ารับความรู้ เรื่องเกณฑ์วัดสีเขียว ที่มี อายุและระดับการศึกษา ต่างกัน มีเจตคติต่อเกณฑ์วัดสีเขียวไม่แตกต่างกัน 2) ประชาชนที่เข้ารับความรู้เรื่อง เกณฑ์วัดสีเขียว มีความพึงพอใจต่อเกณฑ์วัดสีเขียวอยู่ในระดับ มากที่สุด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-08-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย